-
บ้านโคกสลุงเป็นชุมชนที่ยังคงรักษากลิ่นไอแห่งวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทเบิ้งไว้อย่างเข้มข้น ชาวบ้านมีความตระหนัก และพยายามที่จะฟื้นฟูวัฒนธรรมไทเบิ้งที่เริ่มสูญหายขึ้นมาใหม่ โดยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทเบิ้งโคกสลุง เพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณี และวัฒนธรรมของชาวไทเบิ้งบ้านโคกสลุงให้คงอยู่ได้ภายใต้วิถีชีวิตที่ผูกผันตามพลวัตของสังคม
-
ชุมชนบางจะเกร็งเป็นชุมชนเกษตรกรรมบริเวณรอยต่อระหว่างตำบลบางจะเกร็งและตำบลแม่กลอง โดยมีลำคลองบางจะเกร็งเป็นแนวเขตระหว่าง 2 ตำบล
-
ชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์อายุเก่าแก่กว่า 200 ปี เป็นแหล่งผลิตขลุ่ยเรียกว่า "ขลุ่ยบ้านลาว" มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ตลอดจนปัจจุบัน ทั้งนี้ภายในพื้นที่ยังมีแหล่งผลิตหัวโขนที่มีชื่อว่า "บ้านศิลปะไทย"
-
ชุมชนตลาดเก่าเเบบเรือนห้องแถวไม้อันเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ที่โดดเด่น และเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมไทย - จีน เห็นได้จากบรรยากาศของสถาปัตยกรรม รูปแบบวิถีชีวิต และการค้าขายของคนในชุมชน อาทิ ร้านขายยาจีนสมุนไพร ร้านทำทอง และร้านทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ซึ่งชุมชนยังคงรักษาวิถีชีวิตดั่งเดิมดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน
-
ที่ตั้งของบ้านมะนาวหวานสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่งดงามของภูเขาน้อยใหญ่และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมถึงภาพสะท้อนวิถีชีวิตริมเขื่อนของชาวบ้านมะนาวหวานกับการดำรงอยู่โดยการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ
-
ชุมชนชาวมอญที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ภายในหมู่บ้านมีบ้านเรือนไม้ชาวมอญที่ปลูกเรียงกันอย่างโดดเด่น มีวัดศาลาแดงเหนือที่มีสถาปัตยกรรมรูปแบบผสมผสานหลายเชื้อชาติสวยงามหลายจุด นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีวิถีชีวิตวัฒนธรรมแบบชาวมอญให้ผู้คนภายนอกได้ศึกษาและเรียนรู้ กล่าวได้ว่าชุมชนศาลาแดงเหนือถือเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมแบบมอญที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
-
ชุมชนแหล่งผลิตโคมล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ งานหัตถศิลป์ล้านนาซึ่งเป็นทั้งแหล่งรายได้และเอกลักษณ์หล่อหลอมความผูกพันระหว่างวิถีชีวิต ธรรมชาติ ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม ให้ชาวบ้านสาตรหลวงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง
-
ชุมชนบ้านบางเทาเป็นชุมชนชาติพันธุ์ ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามที่ยังคงแบบแผนการดำเนินชีวิตตามบัญญัติของศาสนาอย่างเคร่งครัด และเป็นชุมชนมุสลิมที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในจังหวัดภูเก็ต
-
บ้านน้ำเค็มมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานเพื่อเป็นการรำลึกถึงความยากลำบากเมื่อครั้งที่ชุมชนต้องประสบกับเหตุการณ์คลื่นยักสึนามิ พ.ศ. 2547 ซึ่งสร้างความสูญเสียแก่ผู้คนและทรัพยากรเป็นอย่างมาก