-
ชุมชนล่ามช้าง ชุมชนเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประเพณี งานหัถกรรมช่างฝีมือของเมืองเชียงใหม่ ได้รับการยกย่องให้เป็นย่านภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมือง ที่เชื่อมโยงลักษณะทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกับถนนท่าแพ ที่ประกอบด้วยอาคารเก่าที่่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เช่นเดียวกัน
-
ละอุ่นเหนือ 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน 10 เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ สถานที่แห่งการรวบรวมถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตริมลำคลองละอุ่น พื้นที่แห่งการจัดการบริหารระบบนิเวศลำคลองจากความเสื่อมโทรมสู่การพลิกฟื้นคืนชีพเศรษฐกิจชุมชน
-
ชุมชนชาวมุสลิมลุ่มแม่น้ำปัตตานี หมู่บ้านที่ซึ่งยังคงดำเนินวิถีชีวิตโดยมีธรรม ยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของชุมชนมายาวนาน
-
ชุมชนริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำเค็มมากที่สุดในปี พ.ศ. 2548 โดยเฉพาะปูม้า ทำให้อาชีพการทำประมงปูม้าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ชุมชน เกิดเป็นแนวคิดจัดตั้ง “ธนาคารปูม้า” เพื่อสร้างระบบในการบริหารจัดการปูม้า เพื่ออนุรักษ์ปูม้าให้คงเป็นทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์และเป็นสัตว์เศรษฐกิจของชุมชนต่อไป
-
ชุมชนต้นแบบแห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องทวงสิทธิและความยุติธรรมจากหน่วยงานรัฐ ให้ได้มาซึ่งความเท่าเทียมและสวัสดิการพื้นฐานที่ประชาชนชาวปากมาบพึงได้รับเช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นที่อยู่บริเวณโดยรอบ ภายใต้การดำเนินการของกลุ่มประมงบ้านปากมาบพัฒนา
-
หมู่บ้านกะเหรี่ยงโปว์ที่น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำและมีความหลากหลายในคติความเชื่อของผีบรรพบุรุษรวมถึงการเปิดรับความเชื่อทางศาสนาตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม
-
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองบางน้อย ชุมชนริมน้ำเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดของแม่น้ำแม่กลองกับคลองบางน้อย อดีตศูนย์กลางการค้าทางน้ำที่สำคัญของลุ่มแม่น้ำแม่กลอง–แม่น้ำท่าจีน
-
บ้านโก้งโค้ง หมู่บ้านชายทะเลลุ่มน้ำปากพนัง หมู่บ้านชาวประมงที่ซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องราววิถีชีวิตไว้กับความงดงามของทรัพยากรธรรมชาติ
-
บ้านหน้าทับมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลนและวิถีชีวิตชุมชน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เดียวในประเทศไทยที่ยังคงการทำหัตถกรรมหางอวนอยู่
-
ชุมชนชาวประมงริมทะเลสาบสงขลา สถานที่ซึ่งรวบรวมเรื่องราว วิถีชีวิต และจิตวิญญาณของชาวประมง นำเสนอร้อยเรียงผ่านการท่องเที่ยวนิเวศวิถี จนได้รับขนานนามว่าเป็นหมู่บ้านประมงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง
-
ชุมชนสมอเอก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวความคิดเรื่องการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือกันตามหลักมุสลิมเป็นหลัก เกิดแนวคิดการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง