-
ชุมชนที่ประสบความสำเร็จด้านขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบพอเพียงและวิถีด้านการเกษตรกรรม จึงได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนต้นแบบด้านการเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ
-
ชุมชนเกษตรกรรมที่มีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาในการทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยปลูกผักเหลียงปะปนไปในสวนยางพารา เพื่อสร้างรายได้และใช้ผืนแปลงเกษตรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
-
ชุมชนบ้านย่าหมี ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยการใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการปกป้องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง รวมถึงการจัดกิจกรรมและการรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมแก่สมาชิกของชุมชน
-
ชุมชนเก่าแก่ริมคลองวัดประดู่ ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของตำบลวัดประดู่ จังหวัดสมุทรสงคราม กับตำบลจอมประทัด จังหวัดราชบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มที่มีลำคลองหลายสายไหลผ่าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนมะพร้าว สวนส้มโอ นาข้าว และเลี้ยงปลา และมี “วุ้นมะพร้าว” เป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของชุมชน
-
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองบางน้อย ชุมชนริมน้ำเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดของแม่น้ำแม่กลองกับคลองบางน้อย อดีตศูนย์กลางการค้าทางน้ำที่สำคัญของลุ่มแม่น้ำแม่กลอง–แม่น้ำท่าจีน
-
ชุมชนริมน้ำบ้านหนองบัว เป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันในบริเวณริมลำน้ำจรเข้สามพัน สมาชิกของชุมชนมีการดำรงชีวิตภายใต้ความสมดุลระหว่างชุมชนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของชุมชน ก่อเกิดเป็นการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมรวมถึงประวัติศาสตร์ของชุมชน
-
หมู่บ้านสะพานสองถูกแวดล้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งแหล่งน้ำ ภูเขา และป่าไม้ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของเขานมสาว จุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของภูเขาป่าไม้น้อยใหญ่ทั่วทั้งอำเภอพะโต๊ะและจังหวัดระนอง
-
บ้านบางสีกิ้ม ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมและดินมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร จึงทำให้ผักเหลียงที่ปลูกที่นี่อร่อยที่สุด รสชาติหวานมันไม่ขม
-
ชาวบ้านหนองพาบน้ำได้ร่วมกับชุมชนในตำบลโคกสะบ้าและตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง รวม 9 ชุมชน ก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากการขุดลอกคลองเพื่อสร้างชลประทาน ซึ่งทำลายป่าสาคูบริเวณแม่น้ำปะเหลียน เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าสาคูที่เป็นทั้งแหล่งรายได้ และแหล่งอาหารของชุมชนมาอย่างยาวนาน
-
บ้านภูเขาทอง เป็นผืนนาผืนใหญ่ที่สุดของคนกำพวน อีกทั้งยังมีพันธุ์ข้าวที่ปลูกในผืนนามากกว่า 10 สายพันธุ์ จนได้รับขนานนามว่าเป็น “นาพรุใหญ่” แห่งตำบลกำพวน
-
กลุ่มสตรีบ้านทุ่งแกเจ้ย มีการนำแป้งสาคูจากต้นสาคูในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นของหวาน อาทิ ลอดช่อง ขนมขี้มัน รวมทั้งแปรรูปเป็นเม็ดสาคูและแป้งสาคูจำหน่าย ได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขึ้นชื่อของ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
-
หมู่บ้านท่าพิกุลมีผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปที่มีชื่อเสียง คือ ลูกตาลโตนดอ่อน น้ำตาลโตนด และกะปิ ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีรสชาติอร่อยและคุณภาพดี