นางเลิ้ง
บ้านนางเลิ้ง หรือ บ้านอีเลิ้ง คำว่า อีเลิ้ง เป็นภาษามอญ หมายถึง ตุ่มหรือโอ่ง สันนิษฐานว่าเป็นการนำเอาตุ่มและภาชนะดินเผาอื่น ๆ จากบ้านสามโคก ปทุมธานี ซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญเข้ามาค้าขายในพระนครตามเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม ภายหลังพัฒนาเป็นตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิดมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บ้านครัว
ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนไทย-มุสลิมเชื้อสายจาม ที่ถือเป็นชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครมีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี โดยภายในชุมชนยังคงภูมิปัญญาการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีมัสยิดเก่าแก่ที่ชื่อว่า "มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์" ซึ่งเป็นมัสยิดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1
ตลาดบางหลวง
ชุมชนตลาดเก่าเเบบเรือนห้องแถวไม้อันเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ที่โดดเด่น และเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมไทย - จีน เห็นได้จากบรรยากาศของสถาปัตยกรรม รูปแบบวิถีชีวิต และการค้าขายของคนในชุมชน อาทิ ร้านขายยาจีนสมุนไพร ร้านทำทอง และร้านทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ซึ่งชุมชนยังคงรักษาวิถีชีวิตดั่งเดิมดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน
ระแงง
เทศบาลตำบลระแงงเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามาอยู่อาศัยร่วมกัน ได้แก่ ชาวเขมร ชาวลาว ชาวมุสลิม ชาวกูย ชาวญวน และชาวจีน
บ้านพุองกะ
บ้านพุองกะเป็นชุมชนที่โดดเด่นในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งการทำสวน ปลูกผักและผลไม้ เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และพุต้นน้ำ มีวัฒนธรรมของหลากหลายเชื้อชาติ รวมถึงมีเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ (ช่องเขาขาด) อยู่ด้านหลังวัดพุตะเคียนอีกด้วย
บ้านดงมะไฟ
ชุมชนย่านการค้าอีกแห่งหนึ่งที่เชื่อมระหว่างตัวอำเภอเมืองไปยังอำเภอพรรณานิคม เเละอำเภออากาศอำนวยของจังหวัดสกลนคร
ท่าอุเทน
ชุมชนเก่าริมแม่น้ำโขง ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีวัดพระธาตุท่าอุเทนเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน
บ้านยายม่อม
บ้านบุ่งกะแทว
หมู่บ้านบุ่งกะแทว เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ส่งผลให้ภายในชุมชนมีความหลากหลายทางศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณี