-
หมู่บ้านปงหัวลาน มีลักษณะพื้นที่ราบลุ่ม เป็นเชิงเขา จึงทำให้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำสวน ทำนา เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการทำการเกษตร อาศัยแหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยลาน นอกจากนี้บ้านปงห้วยลานยังมี Home Stay เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวได้มาพักผ่อนซึ่งเป็นอีกอาชีพของคนในชุมชนอีกด้วย
-
บ้านริมออนใต้เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา มีน้ำแม่ออนไหลผ่าน ซึ่งเป็นสายหลักสำคัญของตำบล สภาพภูมิอากาศเย็นสบายในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม
-
วัดป่าตึง วัดที่หลวงปู่หล้าเคยเป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งท่านละสังขารในปี พ.ศ. 2536 หลวงปู่หล้าท่านได้รับสมญานามจากศรัทธาญาติโยมว่ามีญาณวิเศษที่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ จนชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงปู่หล้าตาทิพย์”
-
ชุมชนบ้านท่าเดื่อโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำปิงไหลผ่านซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนในตำบลสันผีเสื้อ ทำให้เกิดภูมิทัศน์ที่สวยงามตลอดเส้นทางที่น้ำปิงไหลผ่านชุมชน
-
หมู่บ้านขนาดใหญ่ ลักษณะพื้นที่เป็นวงรีตามแนวเหนือใต้ มีที่นาแปลงใหญ่อยู่ตรงกลางของหมู่บ้าน ถนนสายใหญ่ผ่านขอบด้านเหนือของหมู่บ้านและแยกตรงเข้าสู่วัดใจกลางชุมชนนี้ ภายในวัดมีพระวิหารที่สวยงามด้วยลวดลายแกะสลักและประดับด้วยแก้วโมเสค หลังคามีหลายชั้นสวยงามตามแบบของภาคเหนือหมู่บ้านนี้มีขนาดใหญ่ รูปลักษณะเป็นวงรีตามแนวเหนือใต้
-
-
วัดป่าดาราภิรมย์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังที่ว่าการอำเภอแม่ริมและค่ายดารารัศมี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 7 ของเชียงใหม่ ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนาได้เป็นอย่างดี บรรยากาศร่มรื่นและสงบ เหมาะแก่การมาทำบุญไหว้พระ เพื่อให้จิตใจสงบและผ่องใสเป็นอย่างมาก
-
บ้านสันจอยเป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ อย่าง ลีซู ที่อพยพเข้ามาอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 30 ปีแล้ว ที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทั้งการแต่งกายและพิธีกรรมอย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ ยังอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ลาหู่ และเย้า รวมทั้งคนพื้นเมืองภาคเหนืออีกด้วย
-
ชุมชนวัดโลกโมฬี ตั้งอยู่โดยรอบวัดโลกโมฬีในพื้นที่ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้กับคูเมือง โดยเป็นเจดีย์ที่สร้างปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ตำนานระบุว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระเมืองเกศเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2071 เป็นเจดีย์ทรงปราสาท และได้มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
-
ชุมชนบ้านกาด เป็นชุมชนชนบท ที่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติและชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนจะเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนตั้งแต่เกิด ปรากฏวัฒนธรรมประเพณีที่ทำกันตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษแล้วถ่ายทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่น ได้แก่ งานทำบุญทานข้าวใหม่ งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง (วันสงกรานต์) งานทำบุญสรงน้ำพระธาตุ งานไหว้ศาลเจ้าบ้าน งานทำบุญถวายทานสลากภัต และงานทอดกฐินสามัคคี