บ้านท่าม่วง
วัดป่าสักดาราม วัดท่าม่วง วัดเหนือ องค์พระธาตุพนมจำลอง สิมรูปแบบล้านช้าง การอนุรักษ์อักษรธรรมและอักษรไทน้อย
บ้านหาดสองแคว
หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ชาวลาวเวียงที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของชาวลาวเวียงค่อนข้างเด่นชัด ได้แก่ ตักบาตรหาบจังหัน, ประเพณีไหลแพไฟ, พิธีขอบคุณพืชพันธ์ – ธัญญาหาร นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่เก็บรักษาประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้คนที่ได้เข้ามาได้เรียนรู้อีกด้วย
ลาวเวียงบ้านเลือก
ชุมชนชาติพันธุ์ลาวเวียงที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณใกล้กับแม่น้ำแม่กลอง ผู้คนในชุมชนยังคงมีการยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของบรรพบุรุษชาวลาวเวียงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การตั้ง "ศาลปู่ตา" การประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต อาหาร และการแต่งกาย
บ้านเพชร
ชุมชนโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและวิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับตำนานเรื่องเล่าชุมชนที่มีความน่าสนใจ
บ้านนาเวียงใหญ่
วัดโพธิ์ศรี นาเวียง เป็นหนึ่งใน 4 วัดในอำเภอด่านซ้ายที่จัดงานบุญหลวง และมีการละเล่นผีตาโขน มีพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนบ้านนาเวียง จัดแสดงหน้ากากผีตาโขนในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในวัดที่มีการต่อเรือยาว และเป็นหนึ่งในสนามแข่งเรือเมื่อครั้งสมัยก่อน เป็นหนึ่งใน 2 ชุมชนสุดท้ายในอำเภอด่านซ้ายที่ยังมี “พัดทดน้ำ” หรือ “ระหัดวิดน้ำ” ภูมิปัญญาของชาวลุ่มน้ำหมัน หลงเหลือให้เห็นอยู่ในแม่น้ำหมัน
วัดคีรีวัน
วัดคีรีวัน ชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง (ไทยเวียง) หัตถกรรมจักสาน เครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้า และอาหารพื้นถิ่น
ศรีภูมิ
เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย เช่น กลุ่มลาวเวียงจันทน์ กลุ่มมอญ กลุ่มจีน กลุ่มมุสลิม เป็นต้น
บ้านฆ้อง
ชุมชนวัดบ้านฆ้องมีจิตรกรรมฝาผนังที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของชุมชน สะท้อนความเป็นมาของชาติพันธ์ลาวที่ถูกหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมไทยท้องถิ่น
บ้านหนองขาม
บ้านหนองขามเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของชาวลาวเวียงที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของตนเองไว้อย่างแน่นแฟ้น
บ้านดอนคา
จุดเด่นที่ทำให้ชุมชนลาวเวียงแห่งนี้มีความเข้มแข็งจากอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและกระแสการท่องเที่ยวชุมชนที่กําลังเฟื่องฟูทั่วทุกหนแห่งรัฐได้เล็งเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศจึงนำวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศ ความเป็นชาติพันธุ์กกลายเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในสังคม ภาครัฐจึงเข้ามาสนับสนุนการจัดประเพณีต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรม