-
ชุมชนปากทะเลตั้งอยู่บนที่ราบริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนใน พื้นที่แถบนี้สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยครึ่งเมตร เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำทะเลพัดพามา
-
ชุมชนบ้านไร่สะท้อนแห่งนี้มีภูมิปัญญาและวิถีชีวิตอันผูกพันอยู่กับต้นตาล จึงมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการนำตาลมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ผู้คนในชุมชนยังเปิดแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับต้นตาลให้แก่บุคคลภายนอกผ่านการท่องเที่ยงเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม
-
บ้านหนองแฟบ ชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่าร้อยปี ภายในชุมชนมีแหล่งโบราณสถานขุดพบพบโครงกระดูกมนุษย์และภาชนะดินเผา เครื่องมือโลหะ เครื่องประดับ ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน เครื่องประดับสำริดที่กำหนดอายุตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะปลูกกล้วยหอมส่งออกสู่ตลาดญี่ปุ่นผ่านการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรบ้านลาดและสหกรณ์การเกษตรท่ายาง แหล่งส่งออกกล้วยหอมทองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
-
เป็นชุมชนไทดำหรือชาวลาวโซ่ง ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองปรงตั้งแต่สมัย ร.3 นิยมปลูกบ้านเรือนด้วยไม้ ยกใต้ถุนบ้านสูงไว้เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ และทำงานหัตถกรรมเพื่อเป็นรายได้เสริม โดยมีสถานที่สำคัญ คือ “บ้านไททรงดำ”
-
ชุมชนริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำเค็มมากที่สุดในปี พ.ศ. 2548 โดยเฉพาะปูม้า ทำให้อาชีพการทำประมงปูม้าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ชุมชน เกิดเป็นแนวคิดจัดตั้ง “ธนาคารปูม้า” เพื่อสร้างระบบในการบริหารจัดการปูม้า เพื่ออนุรักษ์ปูม้าให้คงเป็นทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์และเป็นสัตว์เศรษฐกิจของชุมชนต่อไป
-
ชุมชนมอญโบราณกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำสไบมอญที่มีความเป็นเอกลักษณ์ เพื่อการรักษามรดกอันล้ำค่าของกลุ่มชาติพันธุ์ สู่การสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้า
-
เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านที่มีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จากการทำแพปลา สู่การก่อตั้งธนาคารปูม้าเพื่อฟื้นวิถีการทำประมงที่รับผิดชอบต่อทะเลและรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติ
-
ในอดีตเคยได้รับฉายาว่าเป็นหมู่บ้านที่ยากจนที่สุดในจังหวัดที่พัฒนาตัวเองด้วยการจัดตั้งธนาคารชุมชนจนได้รับรางวัลหมู่บ้านสารสนเทศดีเด่นประจำปี 2558 ของกรมพัฒนาชุมชน
-
ชุมชนเกษตรกรรมที่มีเรือนทรงไทยอยู่หลายหลังในพื้นที่ ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตทำตาลโตนดที่มีชื่อเสียง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองบางจากไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกของตำบล เหมาะสำหรับทำนาและทำตาล (น้ำตาลโตนด)
-
บ้านบ่อมอญ-บ่อพราหมณ์ เป็นชุมชนที่สืบสานพิธีกรรมงานปีผีมด พิธีกรรมที่สะท้อนระบบความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติภายในชุมชน นอกจากนี้การประกอบพิธีกรรมนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางจิตใจแก่บุคคล สร้างสำนึกความเป็นกลุ่ม สร้างระบบการควบคุมทางสังคม สร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายให้แก่ชุมชน การสืบสานพิธีกรรมของชุมชน ทำให้ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับชาติ ปี พ.ศ. 2566
-