บ้านแหลม
ชุมชนตลาดการค้าเก่าและชุมชนชาวประมง โดยเฉพาะบริเวณถนนประมงเจริญและถนนแม่แดงอุทิศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลที่มีน้ำทะเลท่วมถึง ซึ่งเดิมบริเวณชายทะเลนั้นมีพื้นที่ไม่มากนัก ต่อมาพื้นที่งอกขยายออกไปจึงมีคนอพยพมาอาศัยทำมาหากินมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนจีนไหหลำที่อพยพมาทางเรือสำเภา ปัจจุบันจึงเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายกะปิและเกลือสมุทร
ตลาดท่ายาง
เป็นย่านตลาดการค้าบริเวณถนนเทศบาลต่อเนื่องถึงริมแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งมีห้องแถวไม้ 2 ชั้น เป็นกลุ่มแถวยาวปะปนอยู่กับอาคารสมัยใหม่ โดยมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเพชรบุรีและคลองชลประทานไหลผ่านพื้นที่
บางขุนไทร
ชุมชนบางขุนไทรมีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล
เพื่อดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติด้วยตนเอง
อีกทั้งยังเป็นแหล่งหอยแครงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เขาย้อย
เป็นอำเภอที่มีกลุ่มชาวไทดำที่ตั้งถิ่นฐานอยู่มากที่สุด มีศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเป็นแหล่งศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทดำที่เป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี
ถ้ำรงค์
ชุมชนถ้ำรงค์ หนึ่งพื้นที่ซึ่งผูกพันกับต้นตาลโตนดอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่รุ่นตารุ่นยายที่เป็นชาวสวนตาล
สืบทอดภูมิปัญญาการเรียนรู้แก่ลูกหลาน สู่การก่อตั้งวิสาหกิจแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนตาลถ้ำรงค์
เพื่อนำเสนอและเชิดชูภูมิปัญญาจากบรรพชนผ่านกิจกรรมที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในชุมชน
บ้านน้ำทรัพย์
ชุมชนบ้านน้ำทรัพย์
จากพื้นที่ประสบปัญหาความล้มเหลวด้านการประกอบอาชีพ สู่การพลิกฟื้นระบบเศรษฐกิจชุมชน
กับวิถีเศรษฐกิจพอเพียงและการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
คลองกระแซง
ชุมชนเก่ามีโบราณสถานสำคัญในสมัยอยุธยา และยังมีภาพ Street Art ฝีมือศิลปินชาวเพชรบุรีวาดไว้ตามจุดต่าง ๆ ในตลาดอีกด้วย
บ้านสองพี่น้อง
ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง หรือ “หมู่บ้านกะเหรี่ยง” ในเขตตำบลสองพี่น้อง ซึ่งในอดีตได้อพยพมาจากชายแดนพม่าและเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งตะวันออกของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน
บางตะบูน
ย่านชุมชนเก่าชาวประมงบริเวณปากน้ำบางตะบูน มีแหล่งเพาะเลี้ยงหอยแครงที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ อีกทั้งอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลน เช่น โกงกาง แสม ตะบูน ตะบัน เป็นต้น
บ้านท่าแร้ง
เป็นชุมชนที่มีชาวมุสลิมและชาวพุทธอาศัยอยู่ร่วมกัน มีข้าวหมกไก่เป็นอาหารขึ้นชื่อของชุมชน