-
ชุมชนในสวนผลไม้บริเวณที่ราบลุ่มริมน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีคลองบางน้ำผึ้งไหลผ่านจึงทำให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำสวนผลไม้ และมี “ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง” เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชน
-
ชุมชนหัตถกรรมอันลือชื่อในด้านการประดิษฐ์หรือหล่อพระพุทธรูป ที่ได้สืบทอดต่อกันมายาวนานกว่า 700 ปี
-
ชุมชนมอญที่อพยพมาจากเมืองทวายและมะริด ยังคงนับถือพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ภายในชุมชนวัดประดิษฐาราม มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระนอน
-
ชุมชนบ้านนาต้นจั่น ชุมชนที่โดดเด่นสามารถสร้างชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ มีกิจกรรมครบวงจรทั้งวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม รับประทานอาหารพื้นบ้าน และการเข้าถึงวิถีชุมชน
-
บ้านบาตร บริเวณสี่แยกเมรุปูน ถนนบำรุงเมือง ชุมชนตั้งขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เพราะปรากฏคำบอกเล่าที่แตกต่างกันไป บ้างว่าคนบ้านบาตรเดิมเป็นชาวกรุงศรีอยุธยาอพยพมาตั้งแต่เมื่อครั้งเสียกรุงฯ บ้างว่าเป็นชุมชนที่เพิ่งมาตั้งถิ่นฐานเมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นชุมชนที่มีฝีมือในการทำบาตรพระมาช้านาน ในอดีตผลผลิตที่ได้จะส่งไปจำหน่ายที่ตลาดย่านเสาชิงช้าและย่านสำเพ็ง ปัจจุบันเหลือบ้านทำบาตรพระเพียงไม่กี่ครอบครัวเท่านั้น
-
ชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย
-
พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มีพื้นที่ติดกับชุมชนบ้านสมเด็จและชุมชนบางไส้ไก่ กระทั่งกลายเป็นย่านที่รวมผู้คนหลายศาสนาหลากวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน โดยมี "วัดหิรัญจูรี" เป็นศาสนสถานสำคัญที่เปรียบเสมือนสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของผู้คนในชุมชน
-
-
ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ เป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์อยู่ภายในชุมชนอีกด้วย
-
ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนไทย-มุสลิมเชื้อสายจาม ที่ถือเป็นชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครมีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี โดยภายในชุมชนยังคงภูมิปัญญาการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีมัสยิดเก่าแก่ที่ชื่อว่า "มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์" ซึ่งเป็นมัสยิดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1