แพมบก
หมู่บ้านแพมบกอยู่ไม่ไกลจากสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย มีการรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภายในชุมชน แต่ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตเรียบง่ายและพอเพียง ที่นี่มี "โขกู้โส่" สะพานบุญที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจระหว่างชาวบ้านและพระภิกษุสามเณรของชุมชน นับเป็นสะพานไม้ไผ่ที่มีความสวยงามและยาวมากอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เลโคะ
เลโคะ หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงโปว์เล็ก ๆ ที่ยังคงประกอบอาชีพดั้งเดิม คือ การจักสานและทอผ้า ซึ่งช่างหัตถกรรมที่นี่มีฝีมือดี ต่อมาจึงได้พัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของชุมชน นอกจากนี้ชาวบ้านยังปลูกกาแฟ ซึ่งเอกลักษณ์ของกาแฟบ้านเลโคะ คือ ต้นกาแฟปลูกในพื้นที่ที่ไม่สูงมากนักหากเทียบกับกาแฟของที่อื่น แต่เป็นต้นกาแฟที่ได้รับดิน น้ำ และอากาศที่อุดมสมบูรณ์ โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟธรรมชาติบ้านเลโคะ
บ้านใคร่นุ่น
ผู้คนในชุมชนสามารถปรับตัวเเละอยู่กับภัยธรรมชาติที่ต้องเผชิญ ทั้งในช่วงฤดูฝนที่น้ำท่วมขังและช่วงหน้าแล้งที่ต้องดูแลพืชผลทางการเกษตร
บ้านฝ่ายท่า
ชุมชนบ้านฝ่ายท่า ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา พื้นที่จึงมีความหลากหลายของระบบนิเวศที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของต้นพลับพลึงธาร พืชน้ำที่ออกดอกสีขาวบานงดงามปีละ
1 ครั้ง ชุมชนจึงจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายใต้คำขวัญ ล่องแพ แลพลับพลึงธาร บานคลองนาคา
วัดหัวป้อม
ชุมชนและวัดเก่าแก่แห่งเมืองสงขลากับพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางสัมคมจากอดีตถึงปัจจุบัน
บ้านโคกกะเทียม
ชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ชุมชนไทยพวน มีประเพณีท้องถิ่น รวมทั้งมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโคกกะเทียม
บ้านห้วยบง
บ้านห้วยบง
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่เนินเขาสูงที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่คู่กับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน
และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยบง แหล่งเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพชุมชน
บ้านบางโก้งโค้ง
บ้านโก้งโค้ง หมู่บ้านชายทะเลลุ่มน้ำปากพนัง
หมู่บ้านชาวประมงที่ซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องราววิถีชีวิตไว้กับความงดงามของทรัพยากรธรรมชาติ
บ้านโป่งน้ำร้อน
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้กิจกรรมกระบวนการการผลิตชา