บ้านเกาะมุกด์
ชุมชนบ้านเกาะมุกด์เป็นชุมชนประมงที่มีการจัดการด้านท่องเที่ยวทางทะเลในทะเลอันดามัน ชุมชนสามารถผสานวิถีชุมชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำเนินธุรกิจ ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อย่างกลมกลืนกัน
ตลาดท่ายาง
เป็นย่านตลาดการค้าบริเวณถนนเทศบาลต่อเนื่องถึงริมแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งมีห้องแถวไม้ 2 ชั้น เป็นกลุ่มแถวยาวปะปนอยู่กับอาคารสมัยใหม่ โดยมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเพชรบุรีและคลองชลประทานไหลผ่านพื้นที่
บ้านเกาะสิเหร่
วิถีชีวิตชาวใต้และอูรักลาโวยจ มีชายหาดสวยงามเหมาะแก่การพักผ่อน ผลิตภัณฑ์ชุมชนไข่มุกจากท้องทะเล วิถีชีวิตและประเพณีชาวเลอูรักลาโวยจ
หนองแขม
ชุมชนหนองแขมมีวัฒนธรรมร่องรอยทางประวัติศาสตร์อันยาวนานที่ควรดำรงไว้เพื่อการศึกษาวัฒนธรรมของชุมชนหนองแขมในอดีตที่เป็นศูนย์กลางของการค้าขายตลอดแนวริมคลองภาษีเจริญหน้าวัดหนองแขม
ถนนนครนอก
ถนนนครนอก เป็นถนนที่ติดกับฝั่งทะเลสาป ในอดีตบริเวณนี้เป็นท่าเทียบเรือเพื่อการค้าและขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ ดูได้จากการมีโรงสีข้าวขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันที่แห่งนี้ได้ชื่อว่า หับ โห้ หิ้น หรือที่ชาวสงขลาเรียกกันว่า โรงสีแดง โรงสีข้าวแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาปสงขลา มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับพื้นที่เพาะปลูกข้าว แต่ในปัจจุบันได้ยกเลิกกิจการไปแล้ว เพราะเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคม เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้คนที่มาเยี่ยมชมที่นี่ เพื่อจะได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต จนถึงปัจจุบัน
บ้านเหมืองกุง
“ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน” ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่เลื่องชื่อ ด้วยมีลวดลายและลักษณะการปั้นที่มีความแตกต่างจากเครื่องปั้นดินเผาชุมชนอื่น
อันนำมาซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง
มัสยิดบางอ้อ
มัสยิดบางอ้อนับว่าเป็นมัสยิดที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่น และอนุรักษ์ความดั้งเดิมไว้ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยการบูรณะอาคารมัสยิดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นหลังอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อ ปี พ.ศ. 2554
บ้านสันติชล
หมู่บ้านสันติชลเป็นหมู่บ้านชาวจีนยูนนานที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศจีน ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และประเพณีที่พวกเขารักษาไว้อย่างเหนียวแน่น
บ้านหาดเสี้ยว
ภูมิปัญญาของชุมชนที่หลากหลายอันเกิดขึ้นมาจากวิถีชีวิตของคนชุมชนบ้านหาดเสี้ยว
มีประเพณีพิธีกรรมที่สืบเนื่องกันมาอย่างยาวนานและหัตถกรรมการทอผ้าที่มีความโดดเด่น
บางคล้า
ชุมชนบางคล้ามีวิถีชีวิตท้องถิ่นเป็นชุมชนการเกษตร มีการดำเนินชีวิตคู่กับลุ่มน้ำบางปะกง และก่อให้เกิดอาชีพและผลผลิตต่าง ๆ เช่น กุ้งแม่น้ำ ปลาแม่น้ำ มะม่วง มะพร้าว น้ำตาลสด ชุมชนบางคล้ายังมีเส้นทางย้อนรอยประวัติศาสตร์ให้ท่องเที่ยว พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดปากน้ำโจโล้ และวัดโพธิ์บางคล้า ที่เป็นที่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่ โดยเทศบาลตำบลบางคล้าได้มีการจัดตั้งตลาดน้ำบางคล้า เพื่อส่งเสริมอาชีพและช่วยขับคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชน