บ้านเชียงเครือ
ในอดีตที่ผ่านมาเคยเป็นชุมชนปั้นภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เเละยังเป็นชุมชนที่มีการทำประมงท้องถิ่น ที่สำคัญมีร้าน "ยายเพ็ญ" ซึ่งเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของจังหวัด
บ้านน้ำทรัพย์
ชุมชนบ้านน้ำทรัพย์
จากพื้นที่ประสบปัญหาความล้มเหลวด้านการประกอบอาชีพ สู่การพลิกฟื้นระบบเศรษฐกิจชุมชน
กับวิถีเศรษฐกิจพอเพียงและการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
บ้านโป่ง (ตลาดคุ้งพยอม)
ชุมชนการค้าและเศรษฐกิจที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต มีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์เพื่อทำการค้าขาย ผู้คนภายในชุมชนมีการจัดโครงการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม บริเวณชุมชนปรากฏสถาปัตยกรรมประเภทเรือนไม้ และมีสถานที่สำคัญ ได้แก่ ศาลเจ้าแม่ล้านโป่ง ศาลเจ้าพ่อกวนอู และวัดคาทอลิกนักบุญยอเซฟ
เวียงกุมกาม
บ้านเลอตอ
บ้านเลอตอ พื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง จึงมีการการส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ภายหลังการสร้างศูนย์โครงการหลวงเลอตอและข้อจำกัดที่เกิดจากการประกาศพื้นที่เขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ชุมชนจึงหันมาเพาะปลูกพืชไร่และไม้ยืนต้นแทนการปลูกฝิ่นและการทำไร่หมุนเวียน
บ้านต๊ำใน
ชุมชนติดกับป่า ชาวบ้านหลายคนจึงมีอาชีพหาของป่า ล่าสัตว์ และเลื่อยไม้แปรรูป ส่งผลให้ชุมชนประสบปัญหาความแห้งแล้งอย่างหนักในเวลาต่อมา โดยเฉพาะในปี 2518 เป็นเหตุให้ชุมชนขณะนั้น เป็นผู้ริเริ่มให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำขึ้น โดยจัดเขตให้เป็นเขตป่าชุมชน มีการจัดการป่าโดยชาวบ้านเอง เป็นเครือข่ายต้นแบบของการอนุรักษ์ป่าชุมชนที่เข้มแข็งมาอย่างยาวนาน
หน้าถ้ำ
ศาสนสถานที่สำคัญอย่าง วัดคูหาภิมุข หรือวัดถ้ำ ที่มีการหล่อพระพุทธไสยศาสตร์ หรือ พ่อท่านบรรทม และท่านเจ้าเขาหรือยักษ์วัดถ้ำ เป็นที่รู้จักของประชาชน มักมากราบไหว้บูชา นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดยะลาอีกแห่งหนึ่ง
บางแม่หม้าย
ชุมชนมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังมี "วัดอาน" เป็นวัดประจำชุมชน และมีหมู่บ้านศิลปหัตถกรรมเฉลิมพระเกียรติไม้กวาดไยมะพร้าว
บ้านปูน
บ้านปูน บางยี่ขัน เป็นชุมชนที่มีอาชีพเผาปูนขาว เพื่อใช้ทำปูนแดงกินกับหมากพลู ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนสมัยก่อน
บ้านพานถม
บ้านพานถม ย่านบางขุนพรหม ปรากฏคำบอกเล่าว่า เป็นบ้านช่างฝีมือที่ประกอบอาชีพทำเครื่องถมประเภทขันน้ำและพานรองเป็นหลัก แต่ไม่มีหลักฐานบันทึกไว้แน่นอนว่าเกิดขึ้นเมื่อใด เครื่องถมของชุมชนนี้ได้รับเอารูปแบบมาจากกลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองนครศรีธรรมราช จึงเรียกกันทั่วไปว่า “ถมนคร” ปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว