บ้านปางแดงใน
ชุมชนวัฒนธรรมชาวดาระอั้ง หรือดาราอาง ที่เคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทยด้วยเหตุผลทางสงคราม สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและสินค้าหัตถกรรมการทอผ้า
บ้านโคกเมือง
ชุมชนตั้งอยู่เป็นบริเวณดินภูเขาไฟ เกษตรกรจึงรวมกลุ่มตั้งเป็นกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ อีกทั้งยังมีปราสาทหินเมืองต่ำ มีผ้าไหมทอลายผักกูดอันเป็นเอกลักษณ์
และยังมีกิจกรรมโฮปบายละเงียด(อาหารเย็น)
ที่มีการจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญและการแสดงรำอัปสรา
ท่าเรือพลี
ชุมชนชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ซึ่งในอดีตเคยเป็นท่าเรือที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี และในปัจจุบันมีตลาดประมงท่าเรือพลีที่เป็นจุดสำคัญของชุมชน
บ้านหนองสูง
ชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเนื่องจากอยู่ใกล้กับภูเขา มีภูผา จำนวนมาก ปัจจุบันยังเป็นแหล่งผลิตผ้าทอที่มีชื่อเสียง
สุเหร่าบ้านดอน
ชุมชนมุสลิมริมคลองแสนแสบ ที่เชื่อกันว่าสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มแขกปัตตานี เมื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพระนครได้จับจองปักหลักทำกินจุดแรกบริเวณซอยสุขุมวิท 47 ในปัจจุบัน
บ้านดอนหัน
หมู่บ้านหัตถกรรม จัดจานไม้ไผ่ ทอผ้าไหมมัดหมี่ เลี้ยงโคพันธุ์ดี ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ปลอดสารพิษ ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านดงมะไฟ
ชุมชนย่านการค้าอีกแห่งหนึ่งที่เชื่อมระหว่างตัวอำเภอเมืองไปยังอำเภอพรรณานิคม เเละอำเภออากาศอำนวยของจังหวัดสกลนคร
วัดสามพระยา
ชุมชนวัดสามพระยา เป็นอีกที่ที่มีของดีขึ้นชื่อ อย่าง ศิลปะที่ทำจาก "ใบลาน" แม้ในปัจจุบันศิลปะที่ว่าจะเลือนหาย แต่ยังมีของดีที่ต้องบอกต่อคือ "ข้าวต้มน้ำวุ้น" ของหวานขึ้นชื่อ และมีวัดสามพระยาวรวิหารที่เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่เคียงคู่ชุมชนมาช้านาน
บ้านคำชะอี
บ้านคำชะอี เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์การอพยพเข้ามาอยู่อาศัยของชาวผู้ไทดำเป็นเวลากว่า
100 ปี ชาวบ้านในชุมชนยังคงสืบทอดรักษาคติความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณีที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ
มีการผสมผสานระหว่างหลักธรรมในศาสนาพุทธกับความเชื่อเรื่องผีดั้งเดิม อันถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวผู้ไท
บ้านกล้วยแพะ
ชุมชนที่เกิดจากการแสวงหาที่ทำกินใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ และการตั้งชุมชนบนพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ