-
สืบเนื่องจากบ้านโคกโก่งตั้งอยู่ในอาณาบริเวณที่มีภูมิทัศน์ทางธรรมชาติเอื้ออำนวยต่อการจัดการท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่งดงาม นำไปสู่การผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม นำเอาการท่องเที่ยวรูปแบบโฮมสเตย์เข้ามาในชุมชน ก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชน หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทโคกโก่งโฮมสเตย์ขึ้น เพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมผู้ไทให้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมหมู่บ้าน
-
ชุมชนผู้ไทบ้านจุมจังมีธรรมาสน์เสาเดียว ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดจุมจังเหนือฝังเสาธรรมาสน์ทะลุพื้นศาลาลงดินตามคติความเชื่อของชาวผู้ไท ซึ่งมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นศาสนวัตถุเชิงสัญลักษณ์ต่อการประกอบพิธีกรรมตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวผู้ไท
-
ชุมชนชาวปกาเกอะญอในตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ 1 ใน 11 หมู่บ้าน แหล่งปลูกทุเรียนป่าละอู พืชเศรษฐกิจ GI สายพันธุ์พระราชทาน
-
ชุมชนกิ่งแก้ว ซอย 1 เป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมภายในชุมชน โดยการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อผลักดันให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการขยะต้นแบบให้เป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการขยะในชุมชนให้กับประชาชนในซอยกิ่งแก้ว รวมถึงประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงและในจังหวัดภูเก็ต
-
วัดป่าดาราภิรมย์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังที่ว่าการอำเภอแม่ริมและค่ายดารารัศมี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 7 ของเชียงใหม่ ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนาได้เป็นอย่างดี บรรยากาศร่มรื่นและสงบ เหมาะแก่การมาทำบุญไหว้พระ เพื่อให้จิตใจสงบและผ่องใสเป็นอย่างมาก
-
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข ปี 2551 ชุมชนแห่งการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพจากการแปลงประยุกต์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างรายได้ ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเฉลิมพระเกียรติวัดเขากะโดน
-
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงผ้าทอด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
-
รำมะนาติงติงแว่วผะแผ่วเสียง สาดสำเนียงเรียงฝากสทึงสาย ล่องปาจักคืนแดนดินถิ่นพรรณราย ละเลียบชายจากฝั่งสังกาเล
-
ชุมชนบ้านไร่ เป็นหนึ่งในชุมชนชาติพันธุ์ของชาว “ญัฮกุร” ที่ยังคงแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ เช่น การใช้ภาษาญัฮกุร วัฒนธรรมการกิน การใส่เสื้อพ้อก และการทำสวนสมุนไพร อีกทั้งบ้านไร่ยังเป็นชุมชนที่ได้รับความสนใจเข้ามาศึกษาจากนักวิชาการหลายทศวรรษ ความรู้ทางวิชาการและความเข้มแข็งของชุมชนก่อให้เกิด “กลุ่มเยาวชน” ที่คอยหล่อเลี้ยงอัตลักษณ์ญัฮกุรให้ยังคงอยู่
-
ลุ่มแม่น้ำแม่วาง เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากร ความหลากหลายของกลุ่มคน ชาติพันธุ์ การทำมาหากินหลายรูปแบบ การจัดการทรัพยากรที่อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการผลิตที่ชาวบ้านเรียกว่า "อาหารจานอร่อยที่ทำให้เรามีกินตลอด" ซึ่งได้พัฒนาคู่การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝ่าย ที่เป็นหัวใจสำคัญในการจัดสรรน้ำเพื่อการผลิต