-
ชุมชนเก่ามีโบราณสถานสำคัญในสมัยอยุธยา และยังมีภาพ Street Art ฝีมือศิลปินชาวเพชรบุรีวาดไว้ตามจุดต่าง ๆ ในตลาดอีกด้วย
-
ภายในชุมชมมีสิมโบราณวัดยางทวงวราราม (วัดบ้านยาง) ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ช่างพื้นถิ่นเขียนเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เช่น ภาพพุทธประวัติ พระมาลัย เวสสันดร และนิทานปาจิต-อรพิมพ์ นอกจากนั้นแล้วช่างยังวาดภาพวิถีชีวิตของคนอีสานเข้าไปในภาพนิทาน/พุทธประวัติด้วย จึงทำให้สิมวัดบ้านยางได้รับยกย่องว่าเป็นโบราณสถานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง
-
บ้านควนยูงมีพื้นที่ป่าชุมชนขนาดใหญ่กว่า 52 ไร่ สถานที่ซึ่งเปรียบเสมือนลมหายใจของลูกหลานชาวควนยูง
-
-
ศูนย์วัฒนธรรมอนุสรณ์สถานสงครามโลกครั้งที่สอง สถานที่บอกเล่าเรื่องราวตำนานรัก "โกโบริ-อังศุมาลิน" แห่งขุนยวม อีกทั้งยังเป็นอนุสรณ์สถานเก็นรวบรวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สงครามมหาเอเชียบูรพาที่เกิดขึ้น ณ เมืองขุนยวม
-
จุดเด่นของชุมชนเเห่งนี้ คือ การดำรงอยู่แบบเครือญาติ อยู่แบบพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เคารพผู้อาวุโส ซึ่งตรงกันข้ามกับสถานการณ์ในสังคมของอีสานที่มีเเนวโน้มลดลงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระเเสโลกาภิวัตน์
-
วิถีชีวิตของชุมชนชนบทที่มีการผสมผสานระหว่างอาชีพประมงชายฝั่งกับการเพาะปลูกพืช ทั้งทำนาข้าวและพืชสวน พร้อมทั้งทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันบริสุทธิ์
-
บ้านท่าด่านมีข้าวปลอดสารพิษจากนาข้าวอินทรีย์ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในการบริหารจัดการนาข้าว เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต จนปัจจุบันข้าวอินทรีย์กลายเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าเลื่องชื่อประจำชุมชน
-
ชุมชนมีความโดดเด่นในการเป็นพื้นที่เรียนรู้ระดับประเทศ การเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้ไร่นาสวนผสมที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชุมชนวิถีเกษตร นอกจากนี้ยังมีความสวยงามของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นที่ตั้งของภูผาหมอก และมีกิจกรรมพายเรือคายัคล่องไปตามลำคลอง ทั้งนี้ยังมีวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้าน คือ มโนราห์ และหนังตะลุง
-
ชุมชนบ้านไร่ เป็นหนึ่งในชุมชนชาติพันธุ์ของชาว “ญัฮกุร” ที่ยังคงแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ เช่น การใช้ภาษาญัฮกุร วัฒนธรรมการกิน การใส่เสื้อพ้อก และการทำสวนสมุนไพร อีกทั้งบ้านไร่ยังเป็นชุมชนที่ได้รับความสนใจเข้ามาศึกษาจากนักวิชาการหลายทศวรรษ ความรู้ทางวิชาการและความเข้มแข็งของชุมชนก่อให้เกิด “กลุ่มเยาวชน” ที่คอยหล่อเลี้ยงอัตลักษณ์ญัฮกุรให้ยังคงอยู่
-
บ้านสันจอยเป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ อย่าง ลีซู ที่อพยพเข้ามาอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 30 ปีแล้ว ที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทั้งการแต่งกายและพิธีกรรมอย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ ยังอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ลาหู่ และเย้า รวมทั้งคนพื้นเมืองภาคเหนืออีกด้วย