บ้านปากทะเล
ชุมชนปากทะเลตั้งอยู่บนที่ราบริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนใน พื้นที่แถบนี้สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยครึ่งเมตร
เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำทะเลพัดพามา
ตลาดริมทางรถไฟทับสะแก
ชุมชนตลาดริมทางรถไฟทับสะแก เป็นชุมชนย่านตลาดการค้ารอบสถานีรถไฟทับสะแก ปรากฏอาคารห้องแถวปูนสองชั้นกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ ภายในชุมชนมีวัดทับสะแก และวัดทุ่งประดู่ เป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชน โดยในวัดทุ่งประดู่นี้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อหินขาว สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชน ที่อัญเชิญมาจากประเทศพม่า
ลุ่มน้ำวาง
ลุ่มแม่น้ำแม่วาง เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากร ความหลากหลายของกลุ่มคน ชาติพันธุ์ การทำมาหากินหลายรูปแบบ การจัดการทรัพยากรที่อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการผลิตที่ชาวบ้านเรียกว่า "อาหารจานอร่อยที่ทำให้เรามีกินตลอด" ซึ่งได้พัฒนาคู่การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝ่าย ที่เป็นหัวใจสำคัญในการจัดสรรน้ำเพื่อการผลิต
บ้านในสอย
วิถีชุมชนชาติพันธุ์กะยัน หรือในนามที่คนทั่วไปเรียกว่ากะเหรี่ยงคอยาว ทรัพยากรชีวภาพที่มีในชุมชนตามธรรมชาติ การปลูกพืชแบบผสมผสาน ปลอดสารพิษ และมันญี่ปุ่น พืชสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
บ้านสันลมจอย
บ้านสันจอยเป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ อย่าง ลีซู ที่อพยพเข้ามาอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 30 ปีแล้ว ที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทั้งการแต่งกายและพิธีกรรมอย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ ยังอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ลาหู่ และเย้า รวมทั้งคนพื้นเมืองภาคเหนืออีกด้วย
เทเวศร์
ย่านเทเวศร์
ชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กับพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจจนกลายเป็นพื้นที่ที่เจริญรุ่งเรืองและมีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจการค้าและด้านวัฒนธรรม
บ้านแม่ลิด
ชุมชนที่มีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ภาษาเป็นของตนเอง และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย
บ้านคลองยาง
ชุมชนบ้านคลองยาง มีการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน นำไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนของชุมชน ซึ่งเป็นต้นทุนด้านอาหารและนำไปสู่การท่องเที่ยวชุมชนสร้างรายได้แก่ชุมชน