บ้านหัวนอน
บ้านหัวนอนมีบทบาทสำคัญในการฟื้นคืนสายพันธุ์ข้าวเหลืองปะทิวที่กำลังจะสูญหาย ให้กลับมามีชีวิตเป็นที่ต้องการของตลาดอีกครั้ง
ภายใต้การนำของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลบางสนบ้านหัวนอน
บ้านปากน้ำ
บ้านปากน้ำ แหล่งรวมภูมิรู้การปลูกข้าว ชุมชนที่มีเรื่องเล่า ความเชื่อ ตำนานและพิธีกรรมโบราณเกี่ยวโยงกับภูมิปัญญาการปลูกข้าวในทุกขั้นตอน
เพื่อหวังว่าผลผลิตของของข้าวนั้นจะสมบูรณ์และเจริญงอกงามอย่างดีที่สุด
ย่านเมืองเก่าสตูล
ย่านเมืองเก่าสตูลเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอาศัยในพื้นที่เมืองสตูลมาแต่ครั้งอดีต ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันก่อเกิดวิถีชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะทั้งด้านอาหาร สถาปัตยกรรม ระบบความสัมพันธ์ของชุมชน เป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรนเพื่อการอยู่ร่วมกัน และเพื่อให้เกิดความสมสมัยท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม
บ้านควนโพธิ์
ชุมชนเกษตรกรรม ทำนาด้วยวิถีดั้งเดิม หวงแหนในเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
"ข้าวอัลฮัม" ที่ยังคงมีไว้ให้ลูกหลานได้ กิน อยู่ อย่างพอเพียง
ริมคลองข้าวเม่า
เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมคลองข้าวเม่า ที่เป็นคลองสายประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา และมีวัดโกโรโกโส ที่เป็นวัดที่อยู่คู่ชุมชนมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
บ้านบึงนาจาน
ต้นจาน ที่มาของชื่อหมู่บ้าน ปลูกเรียงรายตั้งแต่ทางเข้าจนสุดทาง พร้อมเบ่งบานในช่วงฤดูร้อน เพื่อคอยย้ำเตือนว่าท่านเดินทางมาถึงหมู่บ้านแล้ว
วัดดอนรัก
พื้นที่วัดเก่าแก่จากแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา และชุมชนในบริเวณโดยรอบกับความเข้มแข็งของสมาชิกในชุมชน สู่พัฒนาการของสังคมเมืองในปัจจุบัน