ริมแควอ้อม
สภาพแวดล้อมนเป็นลักษณะเฉพาะที่มีความโดดเด่น
ส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตและการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในชุมชน
มีความผูกพันกับสายน้ำอย่างใกล้ชิด มีการตั้งบ้านเรือนตามแนวยาว
ขนานกับแม่น้ำหรือลำคลอง และปลูกสร้างบ้านเรือนไว้ริมน้ำ การทำสวนยกร่อง เป็นเมืองสามน้ำ
บ้านน้ำหรา
บ้านน้ำหราเป็นหมู่บ้านที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งแหล่งน้ำและป่าไม้ ส่งผลให้เกิดแนวคิดการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านน้ำหรา การปลูกพืชแบบผสมผสาน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าชุมชนอย่างยั่งยืน
จนได้รับการยกย่องจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดสตูลเป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”
ประจำปี 2556
คลองเขื่อน
ชุมชนที่โดดเด่นในวิถีการทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะการปลูกมะม่วง โดยพื้นที่ชุมชนแห่งนี้ถือเป็นพื้นที่ส่งขายมะม่วงรายใหญ่และสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ทั้งนี้นอกจากการเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญแล้วชุมชนแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ท้องเที่ยวเกษตรยั่งยืนที่คนทั่วไปจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมและวิถีชีวิตชาวสวนอีกด้วย
บ้านแม่สิน
ชุมชนชาติพันธุ์ มีประเพณีสำคัญ อาทิเช่น ประเพณีกรรมบ้าน ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ ประเพณีโปร่งบ้าน (ตีบ้าน)
บ้านโคกอีโด่ย
"ตลาดวิถีป่า สมัชชาคนจน ชุมชนโคกอีโด่ย" จากชุมชนที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวในเขตชนบทจังหวัดสระแก้ว นำมาซึ่งแนวคิดในการจัดระบบต่าง ๆ ด้วยตนเองเพื่อความอยู่รอดโดยไม่รอคอยความช่วยเหลือ สู่การก่อตั้งตลาดวิถีป่าชุมชนโคกอีโด่ย ตลาดชุมชนจำหน่ายผลิตผลจากป่าที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสระแก้ว
บ้านท่าฉาง
ชุมชนขนาดเล็กบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน หมู่บ้านเก่าแก่ก่อตั้งมายาวนานมากกว่า
110 ปี
บ้านวังมุย
บ้านวังมุย สถานที่ตั้งวัดชัยมงคลหรือวัดวังมุย สถานที่ประดิษฐานรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงของครูบาเจ้าศรีวิชัย
สิริวิชโย และหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก
บ้านป่าเหียง
ภายในชุมชนบ้านป่าเหียงมีเฮือนไทลื้อโบราณอายุกว่า 70 ปี
ซึ่งเป็นเฮือนไทลื้อหลังสุดท้ายที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในตำบลบ้านธิ
บ้านตุ่นใต้
ท่าเรือโบราณน้ำใส เลื่องลือไกลดอยหลวง บวงสรวงพระธาตุดอยโตน ประชาชนเก่งกสิกรรม งามเลิศล้ำธรรมมาสโบราณ งานจักสานไม้ไผ่เลื่องชื่อ
บ้านหนองรังกา
ชุมชนบ้านหนองลังกาเป็นชุมชนกึ่งชนบทกึ่งเมือง
ที่สมาชิกในชุมชนสามารถปรับตัวและต่อรองกับความเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายในและภายนอกชุมชนในการดำรงชีวิตประจำวัน