บ้านเลตองคุ
เลตองคุหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบเชิงเขา รอบนอกมีผาเขาสูงเป็นกำแพงธรรมชาติ ภายในหมู่บ้านนับถือลัทธิฤาษีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานและเป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงฤาษีแห่งเดียวในประเทศไทย
ม้งคีรีราษฎร์
ชุมชนชาวม้งคีรีราษฎร์เป็นชุมชนม้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดตาก
นับรวมประชากรชาวม้งทั้งหมดมากกว่า 19,000
คน อีกทั้งยังเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมการอยู่อาศัยร่วมกันของผู้คนถึง 5 กลุ่มชาติพันธุ์
บ้านเลอตอ
บ้านเลอตอ พื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง จึงมีการการส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ภายหลังการสร้างศูนย์โครงการหลวงเลอตอและข้อจำกัดที่เกิดจากการประกาศพื้นที่เขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ชุมชนจึงหันมาเพาะปลูกพืชไร่และไม้ยืนต้นแทนการปลูกฝิ่นและการทำไร่หมุนเวียน
บ้านท่าสองยาง
ชุมชนที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ เพราะเป็นบริเวณที่มีการเดินทางไปมาหสู่ของประชาชนทั้งสองประเทศ จึงมีความหลากหลายของผู้คน แต่คนในชุมชนก็อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
บ้านแพะ
เรือนอาศัยที่ยังคงสร้างตามแบบเรือนจารีตของชาวกะเหรี่ยง และผ้าทองานหัตถกรรมที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือน ด้วยความละเมียดในแต่ละขั้นตอน จึงได้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น สินค้าวางขายในหมู่บ้านและตำบลต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
ตรอกบ้านจีน
ชุมชนดั้งเดิมที่ปรากฏหลักฐานการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการค้า ภายในชุมชนมีการอาศัยอยู่ร่วมกันระหว่างชาวไทยและชาวจีน มีวัดสีตลารามเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชน และมีสถาปัตยกรรมประเภทเรือนไม้ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นกระจายตัวอยู่ในชุมชน
ท่าสายลวด
เมืองชายแดนระหว่างประเทศไทยกับเมียนมาที่เมืองเหมียวดี ตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง เส้นทางสู่อินโดจีนบนถนนทางหลวงหมายเลข 12 และถนนสายเอเชียหมายเลย AH1
บ้านขุนแม่เหว่ย
ระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน นอกจากนี้พื้นที่ในชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ย ยังแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ พื้นที่ป่าตามความเชื่อ ป่าอนุรักษ์ ป่าใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าตามโครงการของรัฐ
บ้านเปิ่งเคลิ่ง
บ้านเปิ่งเคลิ่ง ชุมชนพหุวัฒนธรรมกับความหลากหลายของวัฒนธรรม
วิถีชีวิต และการปรับตัวอยู่ร่วมกันของชาวบ้าน ทรัพยากรในท้องถิ่น และการปลูกไม้ผลที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน