ชาวเลบ้านหัวแหลม
ชุมชนที่มีความหลากหลายในด้านเชื้อชาติ โดนมีทั้งกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ย ชาวไทย ชาวจีนและชาวมุสลิม
บ้านริมออน
บริเวณวัดริมออนใกล้กับวิหาร มีกุฏิเก่าหรือที่ชาวบ้านเรียก "ศาลาร้อยปี" ซึ่งเป็นศาลาไม้ยกพื้นสูง ก่อสร้างในสมัยที่ครูบาแก้ว เริ่มสร้างวัดริมออนช่วงปี พ.ศ. 2478-2483 ปัจจุบันคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านริมออนได้มีมติร่วมกันที่จะอนุรักษ์อาคารไม้หลังนี้ไว้เป็นสถานที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป
บ้านภูมินทร์-ท่าลี่
ปู่ม่านย่าม่าน หรือตำนานกระซิบรักบรรลือโลก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารวัดภูมินทร์
ซึ่งถูกสร้างสรรค์โดย “หนานบัวผัน’ ช่างวาดชาวไทลื้อผู้โด่งดังแห่งดินแดนล้านนา
บ้านปางหมู
ชุมชนไทยใหญ่บ้านปางหมูเป็นชุมชนไทยใหญ่แห่งแรกก่อนการสร้างเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนที่สมาชิกในชุมชนยังรักษามรดกทางวัฒนธรรมทั้งรูปธรรมและนามธรรมให้คงอยู่คู่กับชุมชน อาทิ วัดปางหมู พระธาตุปางหมู หอเจ้าเมิง เสาใจบ้าน รวมถึงขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นชาวไทยใหญ่
บ้านน้ำบ่อขาว
ชุมชนไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว มีจุดเด่นในด้านการทำนากก และการทำเสื่อกก
หรือสาดไตหย่า ซึ่งถือเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวไตหย่านับตั้งแต่ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
บ้านแม่ขะปู
ชุมชนดั้งเดิมของชาวลัวะ ที่มีประวัติศาสตร์เรื่องเล่าชุมชนที่น่าสนใจ ภายหลังจึงมีผู้คนชาวปกาเกอะญอเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณชุมชนจนถึงปัจจุบัน
บ้านปากบางตาวา
ปากบางตาวา
ชุมชนเก่าแก่จากการเข้ามาของกลุ่มชาวประมงจากรัฐกลันตันเพื่อเดินเรือหาปลาบริเวณปากอ่าวน้ำจืดและทางผ่านการเดินเรือในอดีต
จนกลายเป็นชุมชนมุสลิมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยของจังหวัดปัตตานี