-
ชุมชนบ้านข้าวเม่า แหล่งเรียนรู้ย่านบางกอกน้อยที่สัมผัสได้ถึงวิถีการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้วิธีการทำข้าวเม่าแบบฉบับของชุมชน
-
ชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์อายุเก่าแก่กว่า 200 ปี เป็นแหล่งผลิตขลุ่ยเรียกว่า "ขลุ่ยบ้านลาว" มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ตลอดจนปัจจุบัน ทั้งนี้ภายในพื้นที่ยังมีแหล่งผลิตหัวโขนที่มีชื่อว่า "บ้านศิลปะไทย"
-
ชุมชนตลาดเก่าเเบบเรือนห้องแถวไม้อันเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ที่โดดเด่น และเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมไทย - จีน เห็นได้จากบรรยากาศของสถาปัตยกรรม รูปแบบวิถีชีวิต และการค้าขายของคนในชุมชน อาทิ ร้านขายยาจีนสมุนไพร ร้านทำทอง และร้านทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ซึ่งชุมชนยังคงรักษาวิถีชีวิตดั่งเดิมดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน
-
ชุมชนแหล่งผลิตโคมล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ งานหัตถศิลป์ล้านนาซึ่งเป็นทั้งแหล่งรายได้และเอกลักษณ์หล่อหลอมความผูกพันระหว่างวิถีชีวิต ธรรมชาติ ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม ให้ชาวบ้านสาตรหลวงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง
-
ชุมชนเก่าแก่ที่ในอดีตเคยเจริญอย่างมากในยุคอุตสาหกรรมค้าไม้ของไทย จึงเห็นบ้านเรือนใช้ไม้สักเก่าแก่และบ้านเรือนเก่าสไตล์ยุโรป เช่น บ้านเสาหนัก บ้านหลุยส์ ที ลีโอโนแวนส์ อันเป็นผลพวงของผู้คนต่าง ๆ ที่เข้ามาทำธุรกิจในยุคนี้ นอกจากนี้ยังเป็นชุมชนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับประวัติศาสตร์และการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองลำปาง ผ่านโบราณสถานและวัดเก่าแก่ที่มีเรื่องราว
-
“ตั้งดินตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง ข้างหน้าพระยัง ข้างหลังพระภูมี ต้นศรีมหาโพธิ เจ็ดโบสถ์ แปดวิหาร เก้าทวาร สิบเจดีย์”
-
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม วิถีชีวิตแบบชาวสวนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ ความเชื่อเรื่องพระแม่โพสพที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตชาวไร่ชาวนาของผู้คนในแถบชานเมือง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในชุมชน
-
ในอดีตชุมชนแห่งนี้มีการทำพานถม ปัจจุบันไม่มีการทำแล้ว เหลือเพียงคำบอกเล่าและรู้จักบ้านพานถมในฐานะชุมชนที่เคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องถมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์
-
ถนนสายไม้บางโพ เป็นถนนสายเดียวในกรุงเทพฯ ที่ตลอดระยะทาง 1 กิโลเมตร ในซอยประชานฤมิตรที่มีชุมชนประกอบอาชีพเกี่ยวกับงานไม้ครบวงจร ทั้งไม้แปรรูปสำหรับก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ไม้ตกแต่งบ้าน และบรรดาช่างแกะสลักไม้มากฝีมือร้านรวงสองข้างทางกว่า 200 ร้าน
-
สุเหร่าผดุงธรรมอิสลามเป็น “สุเหร่า” แห่งแรกของแขกเจ้าเซ็นในพื้นที่วัฒนธรรมสามกะดี-สี่สุเหร่า