-
ชาวผู้ไทบ้านหนองห้างได้นำเอา "ไผ่" ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากในชุมชนมาสร้างสรรค์เป็น "เครื่องจักสานไม้ไผ่ลายขิด" ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียง และสร้างรายได้ให้กับชาวผู้ไทบ้านหนองห้าง
-
"ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม" ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน ไม่ให้อพยพแรงงานไปต่างจังหวัด ทำให้เกิดรายได้ในหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร
-
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงผ้าทอด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
-
ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกและเขตมรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าที่มีความสำคัญทั้งทางกายภาพ ความสมบูรณ์และความหลากหลายของพันธุ์พืช สัตว์ป่า และความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มคน เพราะนอกจากสิ่งมีชีวิตคือพืชพันธุ์และสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในผืนป่าแห่งนี้แล้ว ยังมีผู้คนอาศัยกระจายตัวและอาศัยอยู่ร่วมกับการพึ่งพิงธรรมชาติในผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเช่นกัน
-
บ้านขอบด้ง หมู่บ้านที่ได้รับการส่งเสริมจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ให้ปลูกไม้ผลเมืองหนาว อาทิ สตอเบอรี่ บ๊วย ท้อ ถือเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับชาวลาหู่ อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริมจากโครงการหัตถกรรมในมูลนิธิของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทำกำไลหญ้าอิบูแค เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในหมู่บ้าน
-
กราบไหว้ครูบาเจ้าชัยยะวงศา บูชาองค์พระธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย และมีผ้าลายกะเหรี่ยงโบราณ
-
ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ กระติ๊บข้าวเหนียว เศรษฐกิจของชุมชนผ่านการปลูกใบยาสูบและหมอลำซิ่ง
-
วัดป่าตึง วัดที่หลวงปู่หล้าเคยเป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งท่านละสังขารในปี พ.ศ. 2536 หลวงปู่หล้าท่านได้รับสมญานามจากศรัทธาญาติโยมว่ามีญาณวิเศษที่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ จนชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงปู่หล้าตาทิพย์”
-
ชุมชนบ้านหนองจิกมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและเป็นชุมชนที่อยุ่บริเวณชานเมืองซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดมหาสารคามไปสู่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น นับว่าเป็นเส้นทางค้าขายทางรถไฟเดิม และชุมชนบ้านหนองจิกมีธุรกิจในครัวเรือนที่สำคัญคือ การทำไม้ถูพื้น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านหนองจิก นอกเหนือไปจากการทำการเกษตร
-
วิถีชุมชน กลุ่มอาชีพเหนี่ยวแน่น มัสยิดโต๊ะปาแกะสถานที่รวมความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน