-
ชุมชนบ้านบางลำพู เป็นชุมชนที่สมาชิกชุมชนให้ความสำคัญกับป่าจาก เพราะเป็นไม้สำคัญทางเศรษฐกิจของชุมชน ดังนั้นจึงมีการจัดการท่องเที่ยวชมป่าจาก ดังคำขวัญ พาสาว เที่ยวคลองลำพู แลหิ่งห้อย
-
บ้านโก้งโค้ง หมู่บ้านชายทะเลลุ่มน้ำปากพนัง หมู่บ้านชาวประมงที่ซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องราววิถีชีวิตไว้กับความงดงามของทรัพยากรธรรมชาติ
-
บ้านเกาะนก ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ริมชายฝั่งทะเลอันดามัน ตามเส้นทางท่องเที่ยว “ล่องแพเกาะนก” ที่มีการจัดกิจกรรมพาเหล่านักท่องเที่ยวล่องแพชมป่าโกงกางและสัตว์ตามธรรมชาติ กิจกรรมหาหอย ชมทัศนียภาพสันหลังมังกร และรับประทานอาหารทะเลสด ๆ จากฝีมือชาวบ้านในชุมชน
-
บ้านหนองเรือ ฉะเชิงเทรา ชุมชนขนาดเล็กบริเวณริมอ่างเก็บน้ำ หากแต่มีมรดกทางความเชื่ออันยิ่งใหญ่ ดังเช่นศาลเจ้าพ่อกา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่วิถีชีวิตและหมู่บ้านหนองเรือมาอย่างยาวนาน
-
บ้านเชิงเขา ชุมชนที่มีความบริบูรณ์พร้อมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรมนุษย์ สู่การบริหารจัดการที่ครั้งหนึ่งเคยนำพาชุมชนเข้าสู่ยุครุ่งเรืองทางเศรษฐกิจถึงขีดสุด
-
บ้านท่าแค ต้นกำเนิดโนราแห่งแรกของประเทศไทย สถานที่จัดพิธี "โนราโรงครู" พิธีอัญเชิญครูหรือบรรพบุรุษโนรามายังโรงพิธีเพื่อรับการเซ่นสังเวย นอกจากนี้ยังมีการทำพิธี “ครอบเทริด” หรือ “ผูกผ้าใหญ่” แก่โนรารุ่นใหม่รวมถึงทำพิธีแก้บน สำหรับคนทั่วไปที่ได้บนบานศาลกล่าวไว้กับครูโนรา อีกทั้งยังเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม “แทงเข้” พิธีสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์ของโนราโรงครู
-
ชุมชนชาวมุสลิมลุ่มแม่น้ำปัตตานี หมู่บ้านที่ซึ่งยังคงดำเนินวิถีชีวิตโดยมีธรรม ยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของชุมชนมายาวนาน
-
ชุมชนบ้านฝ่ายท่า ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา พื้นที่จึงมีความหลากหลายของระบบนิเวศที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของต้นพลับพลึงธาร พืชน้ำที่ออกดอกสีขาวบานงดงามปีละ 1 ครั้ง ชุมชนจึงจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายใต้คำขวัญ ล่องแพ แลพลับพลึงธาร บานคลองนาคา
-
ชุมชนสมอเอก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวความคิดเรื่องการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือกันตามหลักมุสลิมเป็นหลัก เกิดแนวคิดการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง
-
ชุมชนต้นแบบแห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องทวงสิทธิและความยุติธรรมจากหน่วยงานรัฐ ให้ได้มาซึ่งความเท่าเทียมและสวัสดิการพื้นฐานที่ประชาชนชาวปากมาบพึงได้รับเช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นที่อยู่บริเวณโดยรอบ ภายใต้การดำเนินการของกลุ่มประมงบ้านปากมาบพัฒนา
-
ชุมชนบ้านทุ่งตะเซะ เป็นชุมชนที่มีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนให้เป็นสมบัติของชุมชนเพื่อลูกหลานในชุมชนได้รับผลประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของป่า