บ้านเชียง
ชุมชนที่ค้นพบ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี
พ.ศ. 2535 และเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
บ้านหาดเสี้ยว
ภูมิปัญญาของชุมชนที่หลากหลายอันเกิดขึ้นมาจากวิถีชีวิตของคนชุมชนบ้านหาดเสี้ยว
มีประเพณีพิธีกรรมที่สืบเนื่องกันมาอย่างยาวนานและหัตถกรรมการทอผ้าที่มีความโดดเด่น
บางขุนไทร
ชุมชนบางขุนไทรมีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล
เพื่อดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติด้วยตนเอง
อีกทั้งยังเป็นแหล่งหอยแครงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
บ้านทุ่งโฮ้ง
ผ้าหม้อห้อมบ้านทุ่งโฮ่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษชาวไทพวน นำพาบ้านทุ่งโฮ้งก้าวเข้าสู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP เชิงหัตถกรรม เอกลักษณ์ของบ้านทุ่งโฮ้งและจังหวัดแพร่ ดังคำขวัญของจังหวัดแพร่ที่กล่าวไว้ว่า “หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”
บ้านพุองกะ
บ้านพุองกะเป็นชุมชนที่โดดเด่นในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งการทำสวน ปลูกผักและผลไม้ เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และพุต้นน้ำ มีวัฒนธรรมของหลากหลายเชื้อชาติ รวมถึงมีเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ (ช่องเขาขาด) อยู่ด้านหลังวัดพุตะเคียนอีกด้วย
บางแม่หม้าย
ชุมชนมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังมี "วัดอาน" เป็นวัดประจำชุมชน และมีหมู่บ้านศิลปหัตถกรรมเฉลิมพระเกียรติไม้กวาดไยมะพร้าว
ตลาดล่าง
ชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์การค้าที่ดีของลพบุรี ผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานผู้คน มีสถาปัตยกรรมการสร้างอาคารบ้านเรือนที่เป็นเอกลักษณ์ วิถีชีวิต รวมไปถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น
ย่านชุมชนบ้านโป่ง
ย่านชุมชนบ้านโป่ง มีการใช้พื้นที่เมืองในการสร้างพื้นที่ศิลปะสาธารณะในย่านชุมชน ก่อให้เกิดสุนทรียทางศิลปะ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนย่านบ้านโป่ง
ไทยพวนบ้านผือ
ชุมชนไทยพวนบ้านผือ วิถีชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงเสน่ห์อัตลักษณ์ท้องถิ่น ทั้งวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ความเชื่อความศรัทธา มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและมีเอกลักษณ์