คลองแม่ข่า
“โอตารุเมืองไทย”
คำขนานนามลำคลองสายประวัติศาสตร์คลองแม่ข่า
แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมใจกลางเมืองเชียงใหม่
บ้านหนองเขียว
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ทั้งลาหู่ดำและลาหู่แดง ล้วนนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งหมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
จ่าโบ
เป็นนชุมชนชาติพันธุ์ที่มีการรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย ภาษาพูด ของชาวลาหู่เอาไว้ได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
บ้านห้วยน้ำขุ่น
เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง
และมีการดํารงไว้ของลักษณะเด่นต่างๆทางชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
บ้านขอบด้ง
บ้านขอบด้ง หมู่บ้านที่ได้รับการส่งเสริมจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ให้ปลูกไม้ผลเมืองหนาว อาทิ สตอเบอรี่ บ๊วย ท้อ ถือเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับชาวลาหู่ อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริมจากโครงการหัตถกรรมในมูลนิธิของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทำกำไลหญ้าอิบูแค เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในหมู่บ้าน
บ้านผาใต้
หนึ่งในชุมชนพื้นที่ส่งเสริมศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีรายได้เสริมจากหัตถกรรมทอผ้าและผลิตภัณฑ์แปรรูป
ดอยปู่หมื่น
เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ปลูกชาอัสสัมมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยปลูกบริเวณรอบๆ หมู่บ้าน ภายในหมู่บ้านมีที่พักแบบโฮมสเตย์ และกิจกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมโรงงานผลิตชา กิจกรรมร่วมเก็บใบชา ท่องเที่ยวน้ำตกปู่หมื่น ชมวิถีชีวิตและการละเล่นของชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่
บ้านหนองแขม
ชุมชนพหุวัฒนธรรม 4 กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม
บ้านขาแหย่งพัฒนา
บ้านขาแหย่งพัฒนา ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางวัดพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นพระธาตุที่ชาวเชียงรายให้ความศรัทธา
บ้านจะบูสี
ชุมชนชาติพันธุ์ลาหู่ที่มีการพึ่งพิงธรรมชาติ มีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเพื่อการค้าขายกับภายนอก