-
เอกลักษณ์ของพื้นที่ของชุมชนบ้านญวณสามเสน คือโบสถ์ทั้งสองโบสถ์ภายในพื้นที่และบ้านโบราณเป็นอาคารที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน และความแตกต่างด้านวัฒนธรรมของเชื้อชาติที่ต่างกันแต่อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว
-
สุเหร่าผดุงธรรมอิสลามเป็น “สุเหร่า” แห่งแรกของแขกเจ้าเซ็นในพื้นที่วัฒนธรรมสามกะดี-สี่สุเหร่า
-
ชุมชนช่างโบราณอายุกว่า 200 ปี สืบสานภูมิปัญญาการทำขันลงหินอันเป็นเอกลักษณ์ตั้งแต่สมัยอยุธยาที่คงเหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ภายในชุมชน โดยวัดนี้ถือเป็นวัดที่สำคัญเพราะถูกใช้ในการพระราชทานเพลิงศพเจ้านายและขุนนางสำคัญในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ชุมชนยังมีการอนุรักษ์สำนักกระบี่กระบองที่สืบสานมาตั้งแต่อดีต
-
พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มีพื้นที่ติดกับชุมชนบ้านสมเด็จและชุมชนบางไส้ไก่ กระทั่งกลายเป็นย่านที่รวมผู้คนหลายศาสนาหลากวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน โดยมี "วัดหิรัญจูรี" เป็นศาสนสถานสำคัญที่เปรียบเสมือนสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของผู้คนในชุมชน
-
ในอดีตชุมชนแห่งนี้มีการทำพานถม ปัจจุบันไม่มีการทำแล้ว เหลือเพียงคำบอกเล่าและรู้จักบ้านพานถมในฐานะชุมชนที่เคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องถมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์
-
บ้านนางเลิ้ง หรือ บ้านอีเลิ้ง คำว่า อีเลิ้ง เป็นภาษามอญ หมายถึง ตุ่มหรือโอ่ง สันนิษฐานว่าเป็นการนำเอาตุ่มและภาชนะดินเผาอื่น ๆ จากบ้านสามโคก ปทุมธานี ซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญเข้ามาค้าขายในพระนครตามเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม ภายหลังพัฒนาเป็นตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิดมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
ชุมชนหัตถกรรมอันลือชื่อในด้านการประดิษฐ์หรือหล่อพระพุทธรูป ที่ได้สืบทอดต่อกันมายาวนานกว่า 700 ปี
-
ชุมชนบ้านข้าวเม่า แหล่งเรียนรู้ย่านบางกอกน้อยที่สัมผัสได้ถึงวิถีการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้วิธีการทำข้าวเม่าแบบฉบับของชุมชน
-
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม วิถีชีวิตแบบชาวสวนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ ความเชื่อเรื่องพระแม่โพสพที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตชาวไร่ชาวนาของผู้คนในแถบชานเมือง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในชุมชน