-
สุเหร่าผดุงธรรมอิสลามเป็น “สุเหร่า” แห่งแรกของแขกเจ้าเซ็นในพื้นที่วัฒนธรรมสามกะดี-สี่สุเหร่า
-
ชุมชนตลาดบางเขนเป็นชุมชนที่มีอายุมากว่า 100 ปี โดยภายในชุมชนจะมีตลาดและสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์รักษาไว้จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีแหล่งประดิษฐ์งานศิลปะหัวโขนที่สำคัญชื่อว่า บ้านช่างหัวโขน ซึ่งสถานที่นี้มีการผลิตและทำหัวโขนโดยลุงถนอมมากว่า 50 ปี
-
ตลาดเก่าหนองจอก ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะแก่การค้าขาย เนื่องจากบริเวณนี้เป็นจุดตัดกันของลำคลองหลายสาย อาทิ คลองแสนแสบ เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่นี้กลายเป็นศูนย์กลางชุมชน เป็นสถานที่พบปะ แลกเปลี่ยน ซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ
-
มัสยิดบางอ้อนับว่าเป็นมัสยิดที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่น และอนุรักษ์ความดั้งเดิมไว้ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยการบูรณะอาคารมัสยิดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นหลังอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อ ปี พ.ศ. 2554
-
“วิถีชีวิตริมน้ำ ลำคลองแห่งชีวิต” ชุมชนริมน้ำคลองชักพระ เส้นทางที่จอแจไปด้วยเรือที่สัญจรไปมาตลอดทั้งวัน ห้อมล้อมด้วยบรรยากาศคึกคักของบ้านเรือนและวิถีชีวิตริมน้ำดั้งเดิมแบบไทย และยังคงประเพณีชักพระ ณ วัดนางชี ประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร
-
บ้านหม้อ ตั้งถัดมาจากบ้านลาว เป็นชุมชนชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบอาชีพทำหม้อและภาชนะหุงต้มต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีภาชนะสมัยใหม่เข้ามาแทนจึงได้เลิกอาชีพนี้ไป ภายหลังกลายเป็นย่านขายเครื่องเพชร อัญมณี และเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงของพระนคร ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเสียงจำนวนมาก
-
ชุมชนวัดดาวดึงษาราม เป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยธนบุรี โดยมีสถานที่สำคัญทั้งวัดดาวดึงษารามและโรงสุราบางยี่ขันที่อดีตเคยเป็นโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ในบริเวณชุมชน
-
ชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จสะท้อนวิถีชีวิตของชาวมุสลิมและเป็นแหล่งอาหารฮาลาลที่ตลาดรอมาฎอน ได้แก่ ขนมบดินและขนมกะรี อีกทั้งการมีสถาปัตยกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่งดงามในพื้นที่ชุมชน อย่าง มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน
-
ชาติพันธุ์มอญ การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายมอญ ยังคงยึดมั่นในพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ประเพณีที่สําคัญ เช่น เทศกาลตักบาตรนํ้าผึ้ง เทศกาลตักบาตรดอกไม้ ตักบาตรเทโว และเทศกาลกวนกระยาสารท
-
ชุมชนวัดช่างเหล็ก เป็นชุมชนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในแขวงคลองชักพระ อยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยมีวัดช่างเหล็ก เป็นศูนย์กลางของชุมชนที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา