-
ชุมชนชาวมอญที่มีประวัติเก่าแก่กว่า 100 ปี เป็นกลุ่มชาวมอญที่ขยายตัวมาจากพระประแดงและสมุทรสาคร มีการดำรงชีวิตตามวิถีชุมชนริมน้ำ และมีประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน คือ ประเพณีตักบาตรพระร้อย
-
กุฎีหลวง เป็นศาสนาสถานแห่งแรกของแขกเจ้าเซ็น ที่มีบทบาทในการสร้างชุมชนแขกเจ้าเซ็นให้มีความมีความเป็นปึกแผ่น นับแต่ได้รับพระราชทานที่ดินสร้างศาสนสถาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการตั้งชุมชนแขกเจ้าเซ็นในเวลานั้นสืบต่อมาอีกกว่า 150 ปี
-
ชุมชนวัดสามพระยา เป็นอีกที่ที่มีของดีขึ้นชื่อ อย่าง ศิลปะที่ทำจาก "ใบลาน" แม้ในปัจจุบันศิลปะที่ว่าจะเลือนหาย แต่ยังมีของดีที่ต้องบอกต่อคือ "ข้าวต้มน้ำวุ้น" ของหวานขึ้นชื่อ และมีวัดสามพระยาวรวิหารที่เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่เคียงคู่ชุมชนมาช้านาน
-
‘กุฎีเจริญพาศน์’ นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความแปลกตาตามรูปแบบอาคารขนมขิงที่ผสมผสานไปกับของศาสนาอิสลามที่เชื่อมสายสัมพันธ์ของชุมชนและศาสนา
-
ชุมชนเลื่อนฤทธิ์มีการพบซากโบราณวัตถุในบริเวณชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเศษจาน ชาม แก้ว กระเบื้อง เกือกม้า ประตู หลังคา ไพ่นกกระจอก ไปจนถึงซากหมู สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มาจนถึงปัจจุบัน
-
ดำรงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นเป็นชุมชนสีเขียว เป็นชุมชนต้นแบบหลายอย่าง เช่น มีการใช้หลักศาสนาฟื้นฟูจิตใจ และฟื้นฟูชุมชน น้ำฝนสามารถดื่มได้ และมีการจัดตั้งโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่
-
เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยังคงสภาพของสถาปัตยกรรมที่มีอายุมากกว่า 80 ปี อย่าง สถานที่พักอาศัย ของประชากรในชุมชน หรือจะเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ของศาสนสถานที่สำคัญ อันอาจจะเป็นที่มาของการตั้งหลักฐานจนก่อตัวเป็น "ชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน" อาทิ วัดเทพธิดาราม วัดมหรรณพาราม และวัดราชนัดดาราม
-
ชุมชนสามัคคีร่วมใจ คือหนึ่งในชุมชนริมคลองบางบัว ที่ถูกขุดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดสองฝั่งคลอง 9 ชุมชน พบปัญหาการรุกล้ำ จึงได้มีการจัดตั้ง "เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลองบัว" เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสร้างความเข้มแข็งในชุมชน
-
บ้านช่างฝีมือที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของพระนครอยู่รอบภูเขาทอง หรือชุมชนรอบวัดสระเกศ ฝั่งคลองโอ่งอ่าง เป็นย่านชุมชนเก่าแก่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างวัด เป็นแหล่งผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญแห่งหนึ่งของพระนคร ชุมชนช่างฝีมือในละแวกนี้ อย่าง ชุมชน "บ้านดอกไม้" แหล่งผลิตดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล
-
กุฎีเจริญพาศน์ เป็นกะดีเพียงแห่งเดียวในกลุ่มพื้นที่วัฒนธรรมแขกเจ้าเซ็นสามกะดี-สี่สุเหร่า ที่ยังไม่จดทะเบียนเป็นมัสยิด และยังคงรักษาอัตลักษณ์ความเป็น “กะดี” โดยนามไว้ได้