-
บริเวณบ้านทุกหลังจะปลูกต้นลำไยเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือปลูกต้นมะม่วง และต้นขนุน ทำให้บริเวณ บ้านร่มรื่น ลานบ้านทุกหลังดูสะอาดตา เพราะชาวบ้านจะเก็บกวาดทุกวันทำให้ไม่มีใบไม้ตกเกลื่อนพื้น
-
บ้านเปียงหลวง ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่แถบพื้นที่ชายแดนกับปัญหาความขัดแย้งสู่การอพยพเข้ามายังประเทศไทย และการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ยังคงวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม
-
วัดศรีบุญเรือง วัดเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 โดยท้าวบุญเรือง เป็นพุทธสถานศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน
-
กะเหรี่ยงบ้านแม่หลอด เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายในเรื่องการนับถือศาสนา มีทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ตลอดจนผู้ไม่นับถือศาสนา แต่ศาสนาของชาวบ้านยังคงอยู่ภายใต้มโนทัศน์เดียวกัน คือ ชาวบ้านทุกคนมีความเชื่อเกี่ยวกับดวงวิญญาณและอำนาจที่ไร้ตัวตน อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงตั้งแต่ก่อนการเข้ามาของศาสนา
-
ชาวไทยเขินบ้านสันก้างปลา เป็นชุมชนชาวไทเขินที่อพยพมาจากเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบัน อพยพมาคราวเดียวกับไทเขินในพื้นที่บ้านทรายมูล บ้านมอญ บ้านสันกลางเหนือ และอีกหลายแห่งที่พลัดถิ่นอยู่กันคนละอำเภอ แต่ได้รับอิทธิพลในสมัยนั้น คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ เช่น วัฒนธรรมการพูด การทำอาหาร การแต่งกาย การก่อสร้างบ้านเรือน และประเพณีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น
-
บ้านแม่ยางส้าน ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยงสะกอ) กับการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และภูมิปัญญาวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์
-
ชุมชนที่พึ่งพิงธรรมชาติ ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้นานมากกว่า 250 ปี สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของบ้านเก๊าเดื่อเป็นชนเผ่า “ลัวะ”
-
ชุมชนปกาเกอะญอที่อาศัยพึ่งพิงธรรมชาติ มีวิถีชีวิตการทำไร่หมุนเวียน เอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์เฉพาะตน
-
การตีเหล็ก อาชีพหลักที่เคยสำคัญ แม้ปัจจุบันการถลุงแบบโบราณได้สูญหายไปแล้ว แต่ผู้คนบางส่วนก็ยังคงมีความผูกพันอย่างเช่นอดีต
-
ชุมชนไทเขินต้นแหนหลวงมีการอนุรักษ์สืบสานการแต่งกายด้วยชุดไทเขินทั้งผู้ชายและผู้หญิง พูดภาษาไทเขินในการสื่อสารกันในชุมชน ประกอบอาชีพทำเกษตรปลูกลำไยและพืชผักสวนครัว ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง