-
ชุมชนพหุวัฒนธรรม 4 กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม
-
บ้านบ่อแก้ว ตั้งอยู่ในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่งสะกอหรือปกาเกอะญอ ปัจจุบันมีการพัฒนาพื้นที่การเกษตรเชิงเศรษฐกิจเป็นแหล่งขึ้นชื่อในการทำไร่สตรอว์เบอร์รี ปลูกข้าวดอย รวมถึงการปลูกกาแฟ ซึ่งมีการส่งขายไปยังร้านกาแฟชื่อดังหลายแบรนด์ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของเหมืองแร่ดีบุก-ทังสเตน
-
บ้านแม่สาบเป็นชุมชนไทลื้อขนาดใหญ่ มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน ประชาชนในหมู่บ้านให้ความสำคัญกับจารีต ประเพณี และปฏิบัติอยู่ในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด
-
ชุมชนชาวไทภูเขาบนพื้นที่ตั้งชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และการพัฒนาศักยภาพชุมชนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น
-
ชุมชนชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ วิถีวัฒนธรรมที่ผูกพันกับต้นเมี่ยงพืชท้องถิ่นที่พบได้โดยทั่วไปในพื้นที่ป่าชุมชน
-
บ้านเรือนส่วนใหญ่ที่อยู่ในรั้วบริเวณเดียวกันจะเป็นเครือญาติกัน ลักษณะบ้านเรือนเป็นสัดส่วน มีการปลูกต้นไม้ พืชผักสวนครัว มีวัฒนธรรมที่ดีในชุมชนโดยมีศาลพ่อปู่เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เมื่อมีกิจกรรมต่าง ๆ ประชาชนมักจะมารวมกันที่บริเวณศาลาประชาคมกลางหมู่บ้านติดกับแม่น้ำปิง
-
หมู่บ้านป่าห้า หมู่ที่ 9 มีการแบ่งส่วนการปกครองในหมู่บ้านแบบหมวดมื้อ (ป๊อก) มี 11 ป๊อกส่วนใหญ่มี อสม.ทำหน้าที่ในการดูแล เพื่อเป็นการแบ่งความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม หรือตามประเพณีต่างๆ ทั้งในและนอกชุมชน
-
มีความโดดเด่นด้านการอยู่อาศัยรวมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และผ้าทอไทใหญ่ที่เป็นอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน
-
ชุมชนกึ่งเมืองตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อ สามารถเดินทางไปมาสะดวก พื้นที่ติดริมแม่น้ำและถนนสายหลัก มีวัดพระนอนขอนตาลและศูนย์รักษามะเร็งใกล้บริเวณชุมชน
-
แม่แดดน้อย ชุมชนปกาเกอะญอที่ยืนหยัดหาทางสู้ สร้างทางรอดกับระบบเศรษฐกิจครอบครัวจนเกิดการรวมตัวกลุ่มสตรีด้อยโอกาสก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แดดน้อยและร่วมกับหมู่บ้านจาก 3 ตำบลในอำเภอกัลยาณิวัฒนา พัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าจากภูมิปัญญา เชื่อมโยงสายใยแห่งจิตวิญญาณภายใต้ชื่อแบรนด์ "เดปอถู่" แบรนด์สินค้าที่เป็นมากกว่าแค่ผลิตภัณฑ์ หากแต่เป็นตัวแทนเรื่องราวชีวิตของสตรีผู้ด้อยโอกาสชาวปกาเกอะญอ