-
บ้านแม่ผาแหนเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ บางพื้นที่เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น อ่างเก็บน้ำผาแหน พื้นที่เปิดโล่งมีแนวเขาเป็นฉากหลังที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งจะเห็นเป็นภูเขาหินที่มีหน้าตัดเหมือนหน้าผา บริเวณสันเขื่อนเหมาะแก่การถ่ายภาพบุคคลคู่กับวัตถุท้องฟ้า ประกอบกับระยะทางไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก การเดินทางจึงสะดวกและปลอดภัย จนนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์กล่าวว่า สถานที่แห่งนี้เหมาะเป็นสนามซ้อมมือของพรานดาราที่เพิ่งเริ่มฝึกถ่ายดาว
-
โบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของชุมชน คือ วัดช้างค้ำ หรือที่เรียกกันว่า วัดกานโถมกุมกามภิรมณ์ แหล่งกำเหนิดการค้นพบเมืองโบราณเวียงกุมกาม
-
ชุมชนเกษตรกรรมโคนม ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป
-
หมู่บ้านดวงดีประกอบด้วยโครงสร้างความสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดยบริบทของชุมชนเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทมีนายเทียน ภูสด เป็นผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและค้าขายออกไปทำงานนอกบ้าน มีความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในชุมชนอย่างดี คนในชุมชนส่วนใหญ่รู้จักมักคุ้น บ้างเป็นเครือญาติ มีการช่วยเหลือกัน
-
แม่แดดน้อย ชุมชนปกาเกอะญอที่ยืนหยัดหาทางสู้ สร้างทางรอดกับระบบเศรษฐกิจครอบครัวจนเกิดการรวมตัวกลุ่มสตรีด้อยโอกาสก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แดดน้อยและร่วมกับหมู่บ้านจาก 3 ตำบลในอำเภอกัลยาณิวัฒนา พัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าจากภูมิปัญญา เชื่อมโยงสายใยแห่งจิตวิญญาณภายใต้ชื่อแบรนด์ "เดปอถู่" แบรนด์สินค้าที่เป็นมากกว่าแค่ผลิตภัณฑ์ หากแต่เป็นตัวแทนเรื่องราวชีวิตของสตรีผู้ด้อยโอกาสชาวปกาเกอะญอ
-
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สัมผัสวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวปกาเกอะญอที่บ้านห้วยอีค่าง
-
แหล่งเรียนร่องรอยรู้ทางประวัติศาสตร์ชาติตั้งแต่สมัยสงครามโลก และชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ที่ก่อรูปตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านกว่า 30 ปี
-
มีภูมิปัญญากระเบื้องดินขอ วัดท่าข้ามที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านชุมชนท่าข้าม ภายในวัดมีสิ่งปลุกสร้างที่น่าสนใจ ได้แก่ หอระฆัง เจดีย์จำลองทรงพระพุทธคยา อุโบสภไม้สักทอง พระวิหารที่มีภาพวาดฝาผนังเกี่ยวกับพระเวสสันดรที่สวยงาม และมีพระพุทธรูปทองทิพย์ (ชื่อเดิม ดวงทิพย์) เป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัดท่าข้าม
-
บ้านหาดส้มป่อย ชุมชนขนาดเล็กที่มีแค่ 30 ครัวเรือน แต่เป็นชุมชนที่มีโบราณสถานที่มีอายุมากกว่า 300 ปี เป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อว่าพระธาตุแห่งนี้ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (เกษาธาตุ) ซึ่งตั้งเด่นอยู่บนภูเขาลูกเดียว ล้อมรอบด้วยทุ่งนาและป่าเขาซึ่งเป็นธรรมชาติที่สวยงามที่เรียกว่า “พระธาตุม่อนเปี้ยะ”