-
แม่แดดน้อย ชุมชนปกาเกอะญอที่ยืนหยัดหาทางสู้ สร้างทางรอดกับระบบเศรษฐกิจครอบครัวจนเกิดการรวมตัวกลุ่มสตรีด้อยโอกาสก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แดดน้อยและร่วมกับหมู่บ้านจาก 3 ตำบลในอำเภอกัลยาณิวัฒนา พัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าจากภูมิปัญญา เชื่อมโยงสายใยแห่งจิตวิญญาณภายใต้ชื่อแบรนด์ "เดปอถู่" แบรนด์สินค้าที่เป็นมากกว่าแค่ผลิตภัณฑ์ หากแต่เป็นตัวแทนเรื่องราวชีวิตของสตรีผู้ด้อยโอกาสชาวปกาเกอะญอ
-
-
มีภูมิปัญญากระเบื้องดินขอ วัดท่าข้ามที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านชุมชนท่าข้าม ภายในวัดมีสิ่งปลุกสร้างที่น่าสนใจ ได้แก่ หอระฆัง เจดีย์จำลองทรงพระพุทธคยา อุโบสภไม้สักทอง พระวิหารที่มีภาพวาดฝาผนังเกี่ยวกับพระเวสสันดรที่สวยงาม และมีพระพุทธรูปทองทิพย์ (ชื่อเดิม ดวงทิพย์) เป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัดท่าข้าม
-
การประดิษฐ์หัตถกรรมพื้นบ้านทางศิลปกรรม โคมล้านนาบ้านวังหม้อที่สามารถพับเก็บได้เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
-
หมู่บ้านที่อยู่ทางทิศใต้ของลำน้ำจว้า ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแม่จว้าใต้
-
ชุมชนไทยใหญ่บ้านปางหมูเป็นชุมชนไทยใหญ่แห่งแรกก่อนการสร้างเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนที่สมาชิกในชุมชนยังรักษามรดกทางวัฒนธรรมทั้งรูปธรรมและนามธรรมให้คงอยู่คู่กับชุมชน อาทิ วัดปางหมู พระธาตุปางหมู หอเจ้าเมิง เสาใจบ้าน รวมถึงขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นชาวไทยใหญ่
-
บ้านรุ่งอรุณ เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของจีนยูนาน มีบ้านเรือนเป็นรูปแบบจีนโบราณ นิยมใช้วัสดุเป็นคอนกรีต โดยมีพื้นที่สำหรับเก็บและตากผลผลิตจากพืชไร่ และมีเรือนเก่าบางส่วนที่มีการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาวไทยใหญ่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
-
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุ ผ้าฝ้ายทอมือสามสีที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน จากการผสมผสานของเส้นใยฝ้ายหลายสายพันธุ์โดยไม่ผ่านการย้อมสี เพื่อมุ่งเน้นการรักษาและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะที่เกิดจากสารเคมีและน้ำเสียในการฟอกย้อมสี จนได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Green Production ได้มาตรฐานระดับดีเด่น ประจำปี 2565
-
บ้านแม่สาใหม่ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ม้งกับพื้นที่ตั้งบ้านเรือนท่ามกลางธรรมชาติ และการผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและการเกษตร