-
ชุมชนศาลายา เป็นชุมชนทีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งในเชิงพื้นที่ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ตลอดจนความเชื่อมโยงของการคมนาคมขนส่งทางถนน ทางน้ำ และทางระบบรางไว้ในที่แห่งเดียว นอกจากนี้ยังเป็นเขตพื้นที่ชานเมืองนครปฐมซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ ทำให้มีความเจริญเป็นอันดับต้น ๆ ของจังหวัดนครปฐม ทั้งนี้ภายในชุมชนยังเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟศาลายา และอยู่ริมสองฝั่งคลองมหาสวัสดิ์ ทำให้มีวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์กับสายน้ำ
-
ชุมชนทางการค้าริมน้ำที่มีอายุกว่า 100 ปี โดยเป็นชุมชนตลาดที่มีการผลิตและจำหน่ายสินค้าจำพวกสินค้าบริโภคเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ชุมชนโดดเด่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปและสินค้าอาหาร โดยภายในตลาดมีร้านค้าชื่อดังหลายร้านที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน ทั้งนี้ชุมชนตลาดดอนหวายได้ตั้งอยู่ภายในเขตวัดคงคารามดอนหวาย ซึ่งวัดแห่งนี้ถือเป็นวัดเก่าแก่และสำคัญที่อยู่เคียงคู่กับจังหวัดนครปฐมมาอย่างยาวนาน
-
แหล่งรวมสินค้าเสื้อผ้าและร้านของกินของใช้ราคาถูก รวมถึงย่านร้านขายยาและเครื่องมือแพทย์ประเภทต่าง ๆ
-
ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ เป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์อยู่ภายในชุมชนอีกด้วย
-
ชุมชนชาวมอญที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ภายในหมู่บ้านมีบ้านเรือนไม้ชาวมอญที่ปลูกเรียงกันอย่างโดดเด่น มีวัดศาลาแดงเหนือที่มีสถาปัตยกรรมรูปแบบผสมผสานหลายเชื้อชาติสวยงามหลายจุด นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีวิถีชีวิตวัฒนธรรมแบบชาวมอญให้ผู้คนภายนอกได้ศึกษาและเรียนรู้ กล่าวได้ว่าชุมชนศาลาแดงเหนือถือเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมแบบมอญที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
-
ชุมชนชาติพันธุ์จามที่อพยพมาจากประเทศกัมพูชา และยังเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงในเรื่องการทอผ้าไหม
-
ชุมชนบางจะเกร็งเป็นชุมชนเกษตรกรรมบริเวณรอยต่อระหว่างตำบลบางจะเกร็งและตำบลแม่กลอง โดยมีลำคลองบางจะเกร็งเป็นแนวเขตระหว่าง 2 ตำบล
-
ที่ตั้งของบ้านมะนาวหวานสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่งดงามของภูเขาน้อยใหญ่และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมถึงภาพสะท้อนวิถีชีวิตริมเขื่อนของชาวบ้านมะนาวหวานกับการดำรงอยู่โดยการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ
-
ชุมชนบ้านข้าวเม่า แหล่งเรียนรู้ย่านบางกอกน้อยที่สัมผัสได้ถึงวิถีการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้วิธีการทำข้าวเม่าแบบฉบับของชุมชน
-
ชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์อายุเก่าแก่กว่า 200 ปี เป็นแหล่งผลิตขลุ่ยเรียกว่า "ขลุ่ยบ้านลาว" มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ตลอดจนปัจจุบัน ทั้งนี้ภายในพื้นที่ยังมีแหล่งผลิตหัวโขนที่มีชื่อว่า "บ้านศิลปะไทย"
-
ชุมชนตลาดเก่าเเบบเรือนห้องแถวไม้อันเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ที่โดดเด่น และเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมไทย - จีน เห็นได้จากบรรยากาศของสถาปัตยกรรม รูปแบบวิถีชีวิต และการค้าขายของคนในชุมชน อาทิ ร้านขายยาจีนสมุนไพร ร้านทำทอง และร้านทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ซึ่งชุมชนยังคงรักษาวิถีชีวิตดั่งเดิมดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน