เปียงหลวง
เป็นหมู่บ้านที่มีการอาศัยอยู่ร่วมกันระหว่างหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น จีนยูนาน ไทใหญ่ ลีซอ ปะหล่อง และยังอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ซึ่งเป๋นบริเวณที่ค้าขายชายแดนนในระดับท้องถิ่น
ตลาดบางหลวง
ชุมชนตลาดเก่าเเบบเรือนห้องแถวไม้อันเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ที่โดดเด่น และเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมไทย - จีน เห็นได้จากบรรยากาศของสถาปัตยกรรม รูปแบบวิถีชีวิต และการค้าขายของคนในชุมชน อาทิ ร้านขายยาจีนสมุนไพร ร้านทำทอง และร้านทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ซึ่งชุมชนยังคงรักษาวิถีชีวิตดั่งเดิมดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน
บ้านเมืองสาตร
ชุมชนแหล่งผลิตโคมล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ งานหัตถศิลป์ล้านนาซึ่งเป็นทั้งแหล่งรายได้และเอกลักษณ์หล่อหลอมความผูกพันระหว่างวิถีชีวิต
ธรรมชาติ ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม
ให้ชาวบ้านสาตรหลวงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ท่ามะโอ
ชุมชนเก่าแก่ที่ในอดีตเคยเจริญอย่างมากในยุคอุตสาหกรรมค้าไม้ของไทย จึงเห็นบ้านเรือนใช้ไม้สักเก่าแก่และบ้านเรือนเก่าสไตล์ยุโรป เช่น บ้านเสาหนัก บ้านหลุยส์ ที ลีโอโนแวนส์ อันเป็นผลพวงของผู้คนต่าง ๆ ที่เข้ามาทำธุรกิจในยุคนี้ นอกจากนี้ยังเป็นชุมชนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับประวัติศาสตร์และการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองลำปาง ผ่านโบราณสถานและวัดเก่าแก่ที่มีเรื่องราว
บ้านนาตะกรุด
วัดโพธิ์ทอง เป็นทั้งศาสนสถานและสถานที่ท่องเที่ยว สามารถแวะเที่ยวชมกำแพงประตูศิลปะขอม และเข้าสักการะหลวงพ่อหินเขียว ที่จะจัดให้มีพิธีสำคัญฉลองในวันวิสาขบูชาของทุก ๆ ปี
บ้านโมคลาน
“ตั้งดินตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง
ข้างหน้าพระยัง ข้างหลังพระภูมี ต้นศรีมหาโพธิ เจ็ดโบสถ์ แปดวิหาร เก้าทวาร
สิบเจดีย์”
ตลาดพลู
ชุมชนริมน้ำเก่าแก่ที่โด่งดังมาตั้งแต่สมัยธนบุรี
ในฐานะที่เป็นแหล่งเพาะปลูกพลูที่ใหญ่และมีรสชาติดีที่สุด สู่พลวัตการปรับเปลี่ยนเป็นแหล่งสตรีตฟูดและซื้อขายสินค้าไหว้เจ้าของชาวไทยเชื้อสายจีน
จนได้ชื่อว่าเป็น “ไชนาทาวน์ฝั่งธนฯ” แห่งเกาะรัตนโกสินทร์
บ้านเกาะจิก
“มัลดีฟส์เมืองไทย” ชุมชนต้นแบบแห่งการอนุรักษ์พลังงานและลดภาวะโลกร้อนจากความสามารถในการจัดสร้างระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนแบบผสมผสานเพื่อแก้ปัญญาการขาดแคลนไฟฟ้าในชุมชนด้วยตนเอง