บ้านแม่แจ๋ม
ชุมชนพหุวัฒนธรรม
ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน กับวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์
และพื้นที่ทางธรรมชาติที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
บ้านย่าเป้า
ชุมชนลุ่มน้ำวังอีกทั้งเป็นชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศที่ดี และเป็นพื้นที่จุดสำคัญบ่งบอกว่า เข้าเขตเมืองของลำปางแล้ว จากแลนด์มาร์ค ชามตราไก่ ที่เป็นของดีประจำจังหวัด
บ้านสะพานยาว
- ชุมชนชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน แม่สานสามัคคี เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มเครือญาติ ตระกูลขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นพี่น้องหรือตระกูลเดียวกัน มีบางส่วนที่อพยพมาจากจังหวัดอื่นบ้าง
- สินค้าชุมชน ได้แก่ ผ้าปักมือของชาวอิ้วเมี่ยน ที่มีเอกลักษณ์สวยงาม และแอบแฝงไปด้วยการสื่อความหมาย เครื่องประดับของชาวเผ่าเมี่ยนที่เป็นเครื่องเงินล้วนมีความสวยงามเป็นอย่างมาก
บ้านลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางลำปางหลวง ที่มีศิลปะแบบพม่าและล้านนา บ่อน้ำเลี้ยงพระนางจามเทวี น้ำพุร้อนโป่งร้อน พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อนุสาวรีย์พระแม่จามเทวี แนวกำแพงเมืองเป็นคันดิน 3 ชั้น
บ้านป่าแงะ
วัดปิยาราม สร้างโดยเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นเพื่ออุทิศให้โอรส มีพระพุทธรูปในโพรงของต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระเจ้านั่งโกร๋น (นั่งโพรงไม้) ต่อมาทางราชการเวนคืนที่ชาวบ้าน ย้ายชาวบ้านมาอยู่ทางหน้าวัดและเรียกวัดใหม่ว่า วัดป่าแงะ
บ้านแพะสันใหม่
บริเวณบ้านทุกหลังจะปลูกต้นลำไยเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือปลูกต้นมะม่วง และต้นขนุน ทำให้บริเวณ บ้านร่มรื่น ลานบ้านทุกหลังดูสะอาดตา เพราะชาวบ้านจะเก็บกวาดทุกวันทำให้ไม่มีใบไม้ตกเกลื่อนพื้น
บ้านสันเหมือง
การส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ภูมิปัญญาไทย อาทิ ปรัชญาการแพทย์แผนไทย การนวด การพอกตา การแช่มือแช่เท้า การอบตัว การเผายา การตอกเส้น การย่ำขางย่างแคร่ การนั่งถ่านและเข้ากระโจม รักษาโรคต่างๆ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง กลุ่มภูมิแพ้ทางเดินหายใจและผิวหนัง และกลุ่มออฟฟิศซินโดรม โดยโรงพยาบาลชุมชนตำบลดอนแก้ว ได้ดำเนินการให้บริการทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์แผนไทย ด้วยหลักในการบริหารรงพยาบาลสร้างสุข 3 ดี 4 เสา ได้แก่ บริการดี สิ่งแวดล้อมดี และบริหารจัดการที่ดี ด้วยหลักธรรมมาภิบาลเพื่อให้ตำบลดอนแก้วเป็นตำบลสุขภาวะดี ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา
คลองสุนัขหอน
ชุมชนชาวมอญโบราณที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย วิถีชีวิตของผู้คนกับสายน้ำ และการรักษาวิถีวัฒนธรรมแบบมอญที่เป็นเอกลักษณ์