บ้านต้นแหนหลวง
ชุมชนไทเขินต้นแหนหลวงมีการอนุรักษ์สืบสานการแต่งกายด้วยชุดไทเขินทั้งผู้ชายและผู้หญิง พูดภาษาไทเขินในการสื่อสารกันในชุมชน ประกอบอาชีพทำเกษตรปลูกลำไยและพืชผักสวนครัว ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านบึงนาจาน
หมู่บ้านที่มีบึงน้ำเป็นแนวยาวตลอดทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน อีกทั้งมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมภาคอีสานและภาคกลาง อาทิ การบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าพ่อศรีเทพ งานบุญผะเหวด
วชิราซอยคู่
ชุมชนเมืองขนาดใหญ่ในพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ กับพัฒนาการทางสังคมและการปรับตัวของสมาชิกในชุมชน
บ้านแม่ขนาด
เป็นหมู่บ้านใหญ่และเป็นหมู่บ้านแรก ๆ ของชุมชนชาติพันธ์ุกะเหรี่ยง ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโพล่งอาศัยอยู่จำนวนมาก ที่ยังคงสืบทอดประเพณี วิถีปฏิบัติดั้งเดิม เช่น การเลี้ยงผี
บ้านขุนแตะ
ผืนป่าชุมชนมีสภาพเป็นป่าดิบชื้นอุดมสมบูรณ์ ป่าต้นน้ำเป็นพื้นที่อนุรักษ์ใช้ประโยชน์ดูดซับน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและเกษตร ชุมชนนิยมปลูกข้าวพันธุ์ บือพะโด๊ะ บือโพ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กะหล่ำปลี ซูคีนี่ ถั่วลิสง ถั่วพูและพืชพื้นถิ่นอื่น ๆ ตามปลายไร่นา
บ้านวังตง
ชุมชนประมงพื้นบ้าน ต้นแบบการดำเนินงานจัดการทรัพยากรชุมชน เพื่อชุมชน โดยชุมชน สู่การสร้างอาชีพจากพืชท้องถิ่นบนพื้นน้ำ "จักสานต้นคลุ้ม" ผลิตภัณฑ์ผลิตผลจากการอนุรักษ์
บ้านสองพี่น้อง
ชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า ไทลื้อ และเผ่าลาหู่ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง โบสถ์คริสต์หย่อมห้วยสา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสองพี่น้อง
คลองสุนัขหอน
ชุมชนชาวมอญโบราณที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย วิถีชีวิตของผู้คนกับสายน้ำ และการรักษาวิถีวัฒนธรรมแบบมอญที่เป็นเอกลักษณ์