-
ชุมชนชาวมอญในแถบชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เขตลาดกระบัง มีวัดทิพพาวาส เป็นศูนย์กลางของชุมชนซึ่งเป็นวัดมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีมีอุโบสถไม้สักทอง และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรพระร้อย ประเพณีการทำบุญกลุ่มเทศน์ ประเพณีการทิ้งบาตร ประเพณีเกี่ยวการบวช ประเพณีเกี่ยวกับความตาย วัฒนธรรมด้านอาหาร เช่นข้าวแช่ แกงกระเจี๊ยบ แกงมะตาด แกงบอน ปลาร้ามอญ ขนมกาละแม ข้าวเหนียวแดง กระยาสารท
-
ชุมชนบนสันดอยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยบ่อ หมู่บ้านที่มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อแบบดั้งเดิม มีการจัดการการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ อีกทั้งยังมีกิจกรรมหลากหลายให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เช่น กางเต็นท์บนจุดชมวิวดอยบ่อทะเลหมอกยามเช้า การสอนทำอุปกรณ์ไม้ไผ่ เรียนรู้วิถีชุมชน และการเดินป่าไปยังน้ำตกโดยไกด์ชาวลาหู่
-
ชุมชนชาวมุสลิมที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในระยะแรกไม่กี่ครัวเรือนก่อนที่จะมีการพัฒนากรุงเทพทำให้เริ่มมีการอพยพของชาวมุสลิมในตัวเมืองกรุงเทพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้จนกลายเป็นชุมชนชาวมุสลิมขนาดใหญ่
-
บ้านระไมล์ ได้นำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่มีอยู่ในชุมชน เข้ามาประยุกต์ผสมผสานเข้ากับรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตอย่างกลมกลืน
-
ชุมชนเกษตรกรรม น้อมนำศาสตร์พระราชาพัฒนาภูมิปัญญา "ผ้าขาวม้าย้อมคราม" สู่การสร้างเศรษฐกิจชุมชน
-
หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักหล่อเลี้ยงชีวิตและครอบครัว บริเวณโดยรอบอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ทั้งน้ำและป่าไม้ที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก
-
ชุมชนการค้าและที่พักอาศัย ตั้งอยู่โดยรอบสถานีรถไฟปราณบุรี มีการจัดถนนคนเดินตลาดเก่าปราณบุรี เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน บริเวณตลาดเก่าปราณบุรีที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมเรือนไม้แบบดั้งเดิม ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบันแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนไม้แบบดั้งเดิมเอาไว้
-
ชาวบ้านบางมันได้นำภูมิปัญญาชุมชนมาใช้แปรรูปทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น จากสินค้าพื้นเมืองสู่ผลิตภัณฑ์เลื่องชื่อสร้างรายได้หลักให้กับคนในชุมชน
-
พระเจ้าองค์ดำลือชื่อ นับถือเจ้าหลวงคำแดง แหล่งวัฒนธรรมชาวเขา มะพร้าวเผารสดี ชิมลิ้นจี่หวานฉ่ำ ชมถ้ำประกายเพชร น้ำผลไม้รสเด็ด สวนเกษตรห้วยชมพู ผลิตน้ำปูจากทุ่งนา ข้าวกล้องมีคุณค่า คือภูมิปัญญาตำบลศรีถ้อย
-
บ้านบ่อมอญ-บ่อพราหมณ์ เป็นชุมชนที่สืบสานพิธีกรรมงานปีผีมด พิธีกรรมที่สะท้อนระบบความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติภายในชุมชน นอกจากนี้การประกอบพิธีกรรมนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางจิตใจแก่บุคคล สร้างสำนึกความเป็นกลุ่ม สร้างระบบการควบคุมทางสังคม สร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายให้แก่ชุมชน การสืบสานพิธีกรรมของชุมชน ทำให้ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับชาติ ปี พ.ศ. 2566