บ้านบางมัน
ชาวบ้านบางมันได้นำภูมิปัญญาชุมชนมาใช้แปรรูปทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น
จากสินค้าพื้นเมืองสู่ผลิตภัณฑ์เลื่องชื่อสร้างรายได้หลักให้กับคนในชุมชน
บ้านห้วยกุ้ง
หมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวปกาเกอะญอที่มีประชากรเพียงไม่กี่หลังคาเรือน และยังคงดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย มีมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่สวยงาม
บ้านนครชุมน์
ชุมชนชาวไทยรามัญที่สามารถรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ได้อย่างเข้มข้นในด้านภาษา ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี และเทศกาล จนปรากฏเห็นอย่างเด่นชัด เป็นที่รู้จักและจดจำได้ในวงกว้าง
ตลาดริมทางรถไฟปราณบุรี
ชุมชนการค้าและที่พักอาศัย ตั้งอยู่โดยรอบสถานีรถไฟปราณบุรี มีการจัดถนนคนเดินตลาดเก่าปราณบุรี เพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน บริเวณตลาดเก่าปราณบุรีที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมเรือนไม้แบบดั้งเดิม ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบันแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนไม้แบบดั้งเดิมเอาไว้
บ้านท่าต้นหาด
พระเจ้าองค์ดำลือชื่อ นับถือเจ้าหลวงคำแดง แหล่งวัฒนธรรมชาวเขา มะพร้าวเผารสดี ชิมลิ้นจี่หวานฉ่ำ ชมถ้ำประกายเพชร น้ำผลไม้รสเด็ด สวนเกษตรห้วยชมพู ผลิตน้ำปูจากทุ่งนา ข้าวกล้องมีคุณค่า คือภูมิปัญญาตำบลศรีถ้อย
บ้านบ่อพราหมณ์-บ่อมอญ
บ้านบ่อมอญ-บ่อพราหมณ์ เป็นชุมชนที่สืบสานพิธีกรรมงานปีผีมด พิธีกรรมที่สะท้อนระบบความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติภายในชุมชน นอกจากนี้การประกอบพิธีกรรมนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางจิตใจแก่บุคคล สร้างสำนึกความเป็นกลุ่ม สร้างระบบการควบคุมทางสังคม สร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายให้แก่ชุมชน การสืบสานพิธีกรรมของชุมชน ทำให้ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับชาติ ปี พ.ศ. 2566
บ้านออนกลาง
ชุมชนชาวไทเขินซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรมมีวัดพระธาตุดอยผาตั้งเป็นศูนย์กลางในการรวมตัวในการประกอบกิจกรรมทางศาสนา
บ้านป่าคานอก
เคยเป็นพื้นที่ของชาวลัวะมาก่อน
ต่อมามีการเคลื่อนย้ายกลุ่มคนและเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่โดยกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ
มีการอยู่อาศัยและทำกินบนพื้นที่แห่งนี้มากกว่าร้อยปี เดิมเป็นหย่อมบ้านที่ขึ้นกับหมู่ที่
6 บ้านแม่ลานคำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จึงได้ทำการแยกเป็นหมู่บ้านป่านอก หมู่ที่ 11