บ้านแม่กลางหลวง
การทำนาขั้นบันได วิถีชีวิตของชาวไทใหญ่ มีการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน
บ้านหม้อ
บ้านหม้อ ตั้งถัดมาจากบ้านลาว เป็นชุมชนชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบอาชีพทำหม้อและภาชนะหุงต้มต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีภาชนะสมัยใหม่เข้ามาแทนจึงได้เลิกอาชีพนี้ไป ภายหลังกลายเป็นย่านขายเครื่องเพชร อัญมณี และเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงของพระนคร ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเสียงจำนวนมาก
บ้านโคกลำดวน
ชุมชนบ้านโคกลำดวนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากความล้มเหลวในการประกอบอาชีพ
สร้างเป็นแรงผลักดันจากความพยายามต่อสู้ดิ้นรนในการทํามาหากิน จนค้นพบ “ไผ่ตง” และ “ผักหวาน”
พืชเศรษฐกิจพลิกฟื้นชีวิตชาวโคกลำดวนให้กลับมาสู่แสงสว่างอีกครั้ง
จ่าโบ
เป็นนชุมชนชาติพันธุ์ที่มีการรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย ภาษาพูด ของชาวลาหู่เอาไว้ได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
บ้านปงห้วยลาน
หมู่บ้านปงหัวลาน มีลักษณะพื้นที่ราบลุ่ม เป็นเชิงเขา จึงทำให้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำสวน ทำนา เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการทำการเกษตร อาศัยแหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยลาน นอกจากนี้บ้านปงห้วยลานยังมี Home Stay เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวได้มาพักผ่อนซึ่งเป็นอีกอาชีพของคนในชุมชนอีกด้วย
ตามุย
โขงเบื้องหน้า ผาเบื้องหลัง วิถีประมงและเกษตรริมฝั่งโขง วัฒนธรรมชุมชนเชื่อมโยงคนกับธรรมชาติ ความเชื่อปลาบึก และตำนานภูตน้ำ "บักหัวโล้น"
บ้านทุ่งหลวง
ชุมชนแห่งการทำหัตถกรรม มีเครื่องปั้นดินเผาเป็นที่เลื่องชื่อ และแบบแผนวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์
บ้านท่าสองยาง
ชุมชนที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ เพราะเป็นบริเวณที่มีการเดินทางไปมาหสู่ของประชาชนทั้งสองประเทศ จึงมีความหลากหลายของผู้คน แต่คนในชุมชนก็อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข