บ้านแม่หมีใน
บ้านแม่หมีใน ชนกลุ่มปกาเกอญอเผ่าสะกอ อพยพมาจากบ้านเมืองคอน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 175 ปี เป็นไปเพื่อแสวงหาที่ทำกินใหม่โดยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราบสูงที่ราบหุบเขาริมห้วยแม่หมี
สาขลา
ชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรือต้นอยุธยา ทำให้ภายในชุมชนจึงมีวัดเก่าอย่างวัดสาขลาที่มีโบราณสถานเจดีย์เก่าอยู่ นอกจากนี้ยังมักมีพิพิธภัณฑ์ต่างๆที่จัดแสดงของเก่าโบราณที่หาได้จากภายในชุมชน ทั้งนี้ภายในชุมชนปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่ยังมีการประกอบอาชีพทำประมง เลี้ยงกุ้ง ปู หอย จับปลา ซึ่งด้วยวิถีนี้ทำให้จึงมีการผลิตสินค้าแปรรูปอันเกี่ยวกับของทะเลต่างๆมากมายในชุมชนแห่งนี้ด้วย โดยผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ขึ้นชื่อและโดดเด่นที่สุดจนเป็นของดีของชุมชนสาขลาก็คือกุ้งเหยียดนั่นเอง
บ้านกุดนาขาม
"ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม" ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน ไม่ให้อพยพแรงงานไปต่างจังหวัด
ทำให้เกิดรายได้ในหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร
บ้านเกาะเหลา
เกาะเหลาหน้านอก ชุมชนที่อยู่อาศัยของชาวมอแกน กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้ชื่อว่ารักสันโดษเหนือสิ่งอื่นใดด้วยวิถีชีวิตที่ร่อนเร่ในอดีต อีกทั้งยังเป็นชุมชนแหล่งผลิตกะปิเกาะเหลา สุดยอดแห่งกะปิเมืองระนอง ผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อปที่มีชื่อเสียงประจำจังหวัดระนอง
บ้านน้ำราบ
"ล่องแพ ชมวิวเขาจมป่า ทัศนาป่าชายเลน ตื่นตาอุโมงค์โกงกาง ทะเลแหวกสุดอลัง สิเน่ห์ล้ำเมืองตรัง"
แผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา
ดำรงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นเป็นชุมชนสีเขียว เป็นชุมชนต้นแบบหลายอย่าง เช่น มีการใช้หลักศาสนาฟื้นฟูจิตใจ และฟื้นฟูชุมชน น้ำฝนสามารถดื่มได้ และมีการจัดตั้งโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่
ตลาดน้ำท่าคา
ตลาดน้ำท่าคาที่ยังคงรักษาไว้ได้อย่างดี คือ การกําหนดเวลาของการมีตลาดน้ำที่เรียกว่า
“นัด” หรือการกำหนดวันค้าขายจากน้ำขึ้นน้ำลง โดยในหนึ่งเดือนจะมีนัดอยู่ 6 ครั้ง
ได้แก่ วัขึ้น 2 ค่ำ ขึ้น 7 ค่ำ ขึ้น 12 ค่ำ แรม 2 ค่ำ แรม 7 ค่ำ และแรม 12 ค่ำ
เขาบายศรี
เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีการรวมตัวของผู้คนในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาในการทำสวนผลไม้ที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปีมาเป็นจุดขายของชุมชน โดยมีการเปิดกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตเกษตรในแก่ผู้คนภายนอก ทั้งนี้จากภูมิปัญญาการทำสวนภายในชุมชนทำให้พื้นที่เป็นแหล่งที่มีผลไม้ที่ขึ้นชื่อ เช่น ทุเรียน เงาะสีชมพู ระกำ มังคุด