-
-
-
บ้านบาตร บริเวณสี่แยกเมรุปูน ถนนบำรุงเมือง ชุมชนตั้งขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เพราะปรากฏคำบอกเล่าที่แตกต่างกันไป บ้างว่าคนบ้านบาตรเดิมเป็นชาวกรุงศรีอยุธยาอพยพมาตั้งแต่เมื่อครั้งเสียกรุงฯ บ้างว่าเป็นชุมชนที่เพิ่งมาตั้งถิ่นฐานเมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นชุมชนที่มีฝีมือในการทำบาตรพระมาช้านาน ในอดีตผลผลิตที่ได้จะส่งไปจำหน่ายที่ตลาดย่านเสาชิงช้าและย่านสำเพ็ง ปัจจุบันเหลือบ้านทำบาตรพระเพียงไม่กี่ครอบครัวเท่านั้น
-
ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนไทย-มุสลิมเชื้อสายจาม ที่ถือเป็นชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครมีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี โดยภายในชุมชนยังคงภูมิปัญญาการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีมัสยิดเก่าแก่ที่ชื่อว่า "มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์" ซึ่งเป็นมัสยิดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1
-
จากชุมชนชนบทในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนเมืองจากการเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สร้างความร่ำรวยให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดิน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ทำงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
-
ชุมชนวัดหิรัญรูจี เป็นชุมชนที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีวัดเก่าแก่นับร้อยปี อย่าง "วัดหิรัญรูจีวรวิหาร" และเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เส้นทางท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ของย่านหิรัญรูจี เขตกรุงธนบุรี
-
ชุมชนศาลายา เป็นชุมชนทีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งในเชิงพื้นที่ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ตลอดจนความเชื่อมโยงของการคมนาคมขนส่งทางถนน ทางน้ำ และทางระบบรางไว้ในที่แห่งเดียว นอกจากนี้ยังเป็นเขตพื้นที่ชานเมืองนครปฐมซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ ทำให้มีความเจริญเป็นอันดับต้น ๆ ของจังหวัดนครปฐม ทั้งนี้ภายในชุมชนยังเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟศาลายา และอยู่ริมสองฝั่งคลองมหาสวัสดิ์ ทำให้มีวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์กับสายน้ำ
-
แหล่งรวมสินค้าเสื้อผ้าและร้านของกินของใช้ราคาถูก รวมถึงย่านร้านขายยาและเครื่องมือแพทย์ประเภทต่าง ๆ
-
ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ เป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์อยู่ภายในชุมชนอีกด้วย
-
ชุมชนชาติพันธุ์จามที่อพยพมาจากประเทศกัมพูชา และยังเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงในเรื่องการทอผ้าไหม