-
ชุมชนที่มีความหลากหลายในด้านเชื้อชาติ โดนมีทั้งกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ย ชาวไทย ชาวจีนและชาวมุสลิม
-
บริเวณวัดริมออนใกล้กับวิหาร มีกุฏิเก่าหรือที่ชาวบ้านเรียก "ศาลาร้อยปี" ซึ่งเป็นศาลาไม้ยกพื้นสูง ก่อสร้างในสมัยที่ครูบาแก้ว เริ่มสร้างวัดริมออนช่วงปี พ.ศ. 2478-2483 ปัจจุบันคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านริมออนได้มีมติร่วมกันที่จะอนุรักษ์อาคารไม้หลังนี้ไว้เป็นสถานที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป
-
ชุมชนไทยใหญ่บ้านปางหมูเป็นชุมชนไทยใหญ่แห่งแรกก่อนการสร้างเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนที่สมาชิกในชุมชนยังรักษามรดกทางวัฒนธรรมทั้งรูปธรรมและนามธรรมให้คงอยู่คู่กับชุมชน อาทิ วัดปางหมู พระธาตุปางหมู หอเจ้าเมิง เสาใจบ้าน รวมถึงขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นชาวไทยใหญ่
-
ชุมชนไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว มีจุดเด่นในด้านการทำนากก และการทำเสื่อกก หรือสาดไตหย่า ซึ่งถือเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวไตหย่านับตั้งแต่ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
-
ชุมชนดั้งเดิมของชาวลัวะ ที่มีประวัติศาสตร์เรื่องเล่าชุมชนที่น่าสนใจ ภายหลังจึงมีผู้คนชาวปกาเกอะญอเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณชุมชนจนถึงปัจจุบัน
-
-
"กองม่องทะ" ชุมชนชาวกะเหรี่ยงโปว์ในอำเภอสังขละบุรีที่ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความเรียบง่ายแบบดั้งเดิมทั้งวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ปลูกผักปลูกข้าว แล้วเก็บเกี่ยวด้วยวิถีความเชื่ออันแสดงถึงเอกลักษณ์และความงดงามในวิถีถิ่นของชุมชน
-
ชุมชนบ้านปากยามมีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรและสัตว์น้ำ ชาวบ้านจึงมีความเชี่ยวชาญในการจับปลาและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
-
-