-
ชุมชนบ้านขี้นาค ชุมชนโบราณที่ก่อตั้งชุมชนมีอายุมากกว่า 121 ปี เป็นชุมชนชาวกูยที่อพยพโยกย้ายมาตั้งรกรากจนเกิดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่น่าสนใจ
-
ชุมชนมูเซอ บ้านหัวปาย เป็นชุมชนที่นำเอา "พึ๊เข่า" หรือขันโตก ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอมาสร้างสรรค์เป็นสินค้า OTOP สร้างรายได้เสริมนอกเหนือฤดูกาลการทำเกษตรให้แก่คนในชุมชน
-
ชุมชนไทยเบิ้งบ้านโคกสระน้อย เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม และอัตลักษณ์พื้นถิ่นของชาวลาวเดิมเข้ากับชาวไทยอีสาน และชาวไทยภาคกลาง
-
พื้นที่ทางวัฒนธรรมไทย-เขมร ทางผ่านในการเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่งของจังหวัดศรีสะเกษ ประตูไปสู่ปราสาทพระวิหารและผามออีแดง แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
-
"กะเหรี่ยงคอยาว" กลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นที่มีวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลัษณ์ ปรับบทบาทกลายเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีมนต์เสน่ห์ท่ามกลางหุบเขาและสายน้ำ
-
ภายในชุมชนบ้านป่าเหียงมีเฮือนไทลื้อโบราณอายุกว่า 70 ปี ซึ่งเป็นเฮือนไทลื้อหลังสุดท้ายที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในตำบลบ้านธิ
-
ชุมชนชาติพันธุ์ มีประเพณีสำคัญ อาทิเช่น ประเพณีกรรมบ้าน ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ ประเพณีโปร่งบ้าน (ตีบ้าน)
-
ธรรมาสน์เสาเดียว ศาสนวัตถุเชิงสัญลักษณ์ที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบประเพณีและพิธีกรรมทางศาสนาของชาวบ้าน และมรดกภูมิปัญญาของชาวผู้ไท
-
บ้านวังมุย สถานที่ตั้งวัดชัยมงคลหรือวัดวังมุย สถานที่ประดิษฐานรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงของครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย และหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก
-
ชุมชนบ้านหนองลังกาเป็นชุมชนกึ่งชนบทกึ่งเมือง ที่สมาชิกในชุมชนสามารถปรับตัวและต่อรองกับความเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายในและภายนอกชุมชนในการดำรงชีวิตประจำวัน
-
ชุมชนบ้านท่าล้ง มีการจักรสานเป็นงานฝีมือที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวบรูบ้านท่าล้ง ซึ่งนอกจากอาชีพทำไร่ทำนาแล้ว อาชีพจักรสานก็เป็นหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ในชาวบ้าน