-
บ้านพุองกะเป็นชุมชนที่โดดเด่นในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งการทำสวน ปลูกผักและผลไม้ เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และพุต้นน้ำ มีวัฒนธรรมของหลากหลายเชื้อชาติ รวมถึงมีเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ (ช่องเขาขาด) อยู่ด้านหลังวัดพุตะเคียนอีกด้วย
-
ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง หรือ “หมู่บ้านกะเหรี่ยง” ในเขตตำบลสองพี่น้อง ซึ่งในอดีตได้อพยพมาจากชายแดนพม่าและเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งตะวันออกของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน
-
หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงที่ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นประเพณีความเชื่อต่างๆ และการแต่งกาย
-
บ้านศรีบุญยืน สถานที่ตั้งวัดศรีบุญยืน ภายในวัดแห่งนี้มีศาลาการเปรียญแต่งยอดจั่วช่อฟ้าปั้นลม และพระอุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะแบบล้านนา ทั้งรูปทรง ตลอดจนหน้าบันวิหารที่แกะสลักรูปราศรีเกิดทั้ง 12 ราศรี สร้างสรรค์โดยฝีมือสล่าพื้นบ้าน
-
ชุมชนวัฒนธรรมชาวไทขึนที่ยังคงธำรงรักษาไว้ซึ่งจารีต ขนบธรรมเนียม และประเพณีของชาวไทขึนผ่านประเพณีและวิถีการดำรงชีวิต ทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน สถานที่ที่ซึ่งรวบรวมบอกเล่าเรื่องราวบรรพบุรุษของชาวไทขึนด้วยข้าวของเครื่องใช้และโบราณวัตถุที่จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์
-
หมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณสันเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยต่อเนื่องจากดอยอินทนนท์ เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำทิม อยู่หมู่บ้านในความดูแลของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงฯ ที่ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชุมชน
-
ชุมชนที่เกิดจากการแสวงหาที่ทำกินใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ และการตั้งชุมชนบนพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
-
ชุมชนบริเวณแหลมใหญ่เป็นชุมชนที่มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ทั้งไทย จีน และมอญ ที่มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมานับ 100 ปี
-
“บ้านแม่ปั๋ง” เป็นหมู่บ้านชนบทที่ตั้งอยู่บนเนินดอย มีวัดดอยแม่ปั๋ง หรือวัดหลวงปู่แหวน ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอพร้าว ภายในวัดเงียบสงบ มีพื้นที่พักผ่อนจิตใจเหมาะสำหรับการมาปฏิบัติธรรม
-
ชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเนื่องจากอยู่ใกล้กับภูเขา มีภูผา จำนวนมาก ปัจจุบันยังเป็นแหล่งผลิตผ้าทอที่มีชื่อเสียง
-
ชาวผู้ไทบ้านหนองห้างได้นำเอา "ไผ่" ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากในชุมชนมาสร้างสรรค์เป็น "เครื่องจักสานไม้ไผ่ลายขิด" ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียง และสร้างรายได้ให้กับชาวผู้ไทบ้านหนองห้าง
-
ชุมชนชาวมอญที่สืบเชื้อสายจากหมู่บ้านกะมาวัก เมืองมะละแหม่ง ก่อนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ก่อร่างสร้างรากฐานวัฒนธรรมประเพณีฝังลึกในตำบลเจ็ดริ้วกว่า 150 ปี