เกาะเกร็ด
ชุมชนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีพื้นที่ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเป็นชุมชนมอญเก่าแก่ทำให้มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมรูปแบบชาวมอญภายในชุมชน ชุมชนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงและโด่ดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า "เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด" นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีศาสนถานที่สำคัญของชาวมอญอย่าง "วัดปรมัยยิกาวาส" ซึ่งภายในวัดแห่งนี้จะมีเจดีย์เอียงอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของพื้นที่เกาะเกร็ด
ตลาดน้อย
ความโดดเด่นด้านงานฝีมือและงานช่าง แสดงถึงองค์ความรู้วัฒนธรรมชาวจีนที่ได้ส่งต่อมายังรุ่นต่อรุ่น เช่น การหล่อพระ การทำรองเท้า การทำหมอน การทำขนมโบราณ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปตามเทศกาล เช่น การแสดงงิ้ว การทำอาหารเจ ฯลฯ
บ้านรักไทย
หมู่บ้านไทยสไตล์จีนยูนนาน ดินแดนในฝันของเหล่านักเดินทาง จากความพยายามหลายสิบปีในการนำเอาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวจีนยูนนาน หรือจีนฮ่อมานำเสนอ ถ่ายทอดผ่านการปรับเปลี่ยนหมู่บ้านรกร้างในอดีตให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ม้งดอยปุย
ชุมชนชาติพันธุ์ม้งบ้านดอยปุย ชุมชนสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม และชูภาพลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีการดำรงชีวิต เพื่อเป็นจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนหมู่บ้านดอยปุย
ย่านเมืองเก่าภูเก็ต
ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต
เมืองที่หล่อหลอมความหลากหลายของทั้งคน ประเพณี วิถีชีวิต อาหารการกิน
ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่เป็นกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนแห่งนี้
ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสและรูปแบบวัฒนธรรมเฉพาะที่เรียกวา
"เปอรานากัน"
เกาะปันหยี
บ้านกลางน้ำ ที่ตั้งเรียงรายอยู่กลางอ่าวพังงา ด้านหน้าของผาหินปูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน
ริมน้ำจันทบูร
ชุมบ้านเรือนริมน้ำเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันมีการส่งเสริมและพัฒนาริมน้ำจันทบูรให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ยังคงอนุรักษ์และสืบสานเอกลักษณ์ต่าง ๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี
กุฎีจีน
เป็นชุมชนที่ประกอบไปด้วยผู้คนที่นับถือ 3 ศาสนา คือ พุทธ คริสต์ และอิสลาม ที่อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างไม่มีข้อขัดแย้ง รวมทั้งยังมีศาสนสถานของทั้ง 3 ศาสนา อยู่บริเวณชุมชนอีกด้วย
บ้านท่าขอนยาง
จากชุมชนชนบทในอดีตที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ
การเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนเมืองจากการเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สร้างความร่ำรวยให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดิน
สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ทำงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำให้ ไทญ้อ อนุรักษ์
สร้างอัตลักษณ์เพื่อดำรงอยู่ซึ่งความเป็น ญ้อท่าขอนยาง
บ้านจำรุง
ชุมชนต้นแบบที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2550 ที่ตั้ง “มหาวิทยาลัยบ้านนอก” แหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการทำเกษตรแบบครบวงจร
ด้วยหลักการ “วิถีบ้านนอก” วิถีชีวิตบนความเรียบง่ายและพอเพียง
สะท้อนเรื่องราวความเป็นคนบ้านนอกและวิถีชุมชนท้องถิ่น จุดแข็งที่ทำให้บ้านจำรุงยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้ได้