-
ชุมบ้านเรือนริมน้ำเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันมีการส่งเสริมและพัฒนาริมน้ำจันทบูรให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ยังคงอนุรักษ์และสืบสานเอกลักษณ์ต่าง ๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี
-
-
ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับป่า มีวัฒนธรรมด้านภาษาโดยใช้ภาษาคำเมืองเป็นหลัก ชุมชนมีภูมิประเทศที่สวยงาม และมีความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่เป็นเสน่ห์ของชุมชน
-
กว่า 200 ปีมาแล้ว ที่ชาวไทยวนจากเชียงแสนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี แม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนานแต่ชาวไทยวนราชบุรีก็ยังคงอนุรักษ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ภาษาพูด และการแต่งกายไว้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะภูมิปัญญาการทอ “ผ้าซิ่นตีนจก” ภูมิปัญญาอันแสดงถึงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของชาวไทยวนราชบุรีผ่านวิวัฒนาการลวดลายการร้อยเรียงผ่านเส้นด้าย
-
ชุมชนไทยวนที่มีอายุ 200 กว่าปี ซึ่งชุมชนแห่งนี้ยังคงอนุรักษ์และรักษาวิถีชีวิตแบบชาวไทยวนเอาไว้ ภายในชุมชนมีหอวัฒนธรรมที่จัดแสดงวัตถุสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้หายากของชาวไทยวนในอดีตเพื่อเป็นการเรียนรู้แก่คนภายนอกและคนรุ่นใหม่ในชุมชน ทั้งนี้ภายในชุมชนต้นตาลยังโดดเด่นในด้านการทอผ้า ซึ่งผ้าทอชาวยวนที่ผลิตที่บ้านต้นตาลถือว่ามีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศไทย
-
ภูมิปัญญาของชุมชนที่หลากหลายอันเกิดขึ้นมาจากวิถีชีวิตของคนชุมชนบ้านหาดเสี้ยว มีประเพณีพิธีกรรมที่สืบเนื่องกันมาอย่างยาวนานและหัตถกรรมการทอผ้าที่มีความโดดเด่น
-
บ้านกู่เต้า ชุมชนวัฒนธรรมแหล่งเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อารยธรรมชาวไทลื้อและชาวล้านนา ซึ่งถูกถ่ายทอดและบอกเล่าผ่านปูชนียสถานเจดีย์บรรจุอัฐิทรงน้ำเต้าคว่ำภายในวัดบ้านกปู่เต้า
-
บ้านพุองกะเป็นชุมชนที่โดดเด่นในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งการทำสวน ปลูกผักและผลไม้ เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และพุต้นน้ำ มีวัฒนธรรมของหลากหลายเชื้อชาติ รวมถึงมีเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ (ช่องเขาขาด) อยู่ด้านหลังวัดพุตะเคียนอีกด้วย
-
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงผ้าทอด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
-
วิถีชีวิตของชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำแม่แจ่มคือตัวแทนสังคมวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน ด้วยว่าชุมชนอยู่ในหุบเขาซึ่งเสมือนกำแพงธรรมชาติกั้นการผสมผสานกับวัฒนธรรมเมือง