-
ชาวบ้านป่าคานอก มีรูปแบบการทำไร่หมุนเวียนโดยยึดโยงเอาคติความเชื่อ จารีต ประเพณีดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของวิถีการทำไร่
-
นั่งหลังช้างชมธรรมชาติ สัมผัสบรรยากาศหมู่บ้านกลางหุบเขา ยลวิถีอัตลักษณ์ปกาเกอะญอที่บ้านทิโพจิ
-
-
-
หมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวปกาเกอะญอที่มีประชากรเพียงไม่กี่หลังคาเรือน และยังคงดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย มีมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่สวยงาม
-
เคยเป็นพื้นที่ของชาวลัวะมาก่อน ต่อมามีการเคลื่อนย้ายกลุ่มคนและเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่โดยกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ มีการอยู่อาศัยและทำกินบนพื้นที่แห่งนี้มากกว่าร้อยปี เดิมเป็นหย่อมบ้านที่ขึ้นกับหมู่ที่ 6 บ้านแม่ลานคำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จึงได้ทำการแยกเป็นหมู่บ้านป่านอก หมู่ที่ 11
-
เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์อายุราวคราวเดียวกับเมืองเชียงใหม่และลำพูน หรือมีอายุประมาณ 400 - 700 ปี สังเกตจากการพบเห็น ซากโบราณสถาน ซากโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ถ้วยชาม เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผา หิน อิฐ ซากปรักหักพังที่ทับถมกันมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่อยู่อาศัย ที่นา ที่สวน ที่ไร่ และเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมและพิธีกรรมความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
-
คริสตจักรบ้านขุนป๋วย เป็นศาสนสถานประจำชุมชน ถือเป็น ศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน เห็นได้จากการที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะมีส่วนร่วมกับโบสถ์ที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดูแลซึ่งกันและกัน ผ่านพิธีการนมัสการ เกิดการทำกิจกรรมนอกเหนือจากพิธีกรรมทางศาสนา การรวมกลุ่มทั้งกลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน เยาวชนและเด็กมีการพัฒนาด้านบุคคล การจัดเข้าค่ายเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียน ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาชุมชน ขณะเดียวกันในทุกวันอาทิตย์ของการเข้าโบสถ์ ทุกคนจะต้องใส่ชุดประจำเผ่าทั้งชายและหญิงเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายชุดชนเผ่ากะเหรี่ยงให้ดำรงอยู่ต่อไป
-
-