-
-
ชุมชนปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง บ้านแม่สาน จากคำบอกเล่านายรังแก้ว ค้างคีรี ว่าก่อนปี 2516 มีโจรปล้น ฆ่า ชาวบ้านแม่สาน จึงพากันหอบลูกจูงหลานอพยพหนีภัยไปอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กระทั้งนายอำเภอลี้ได้สอบถามเรื่องราวและประสานกับนายอำเภอศรีสัชนาลัยสมัยนั้นเพื่อนำชาวบ้านกลับมายังบ้านแม่สาน ราษฎรกะเหรี่ยงที่บ้านแม่สานนั้น นามสกุลเหมือนกันทั้งหมู่บ้าน คือ นามสกุล “ ค้างคีรี ” สอบถามแล้วได้ความว่านายอำเภอผู้หนึ่งตั้งให้ทุกคนในคราวเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ชุมชนกะเหรี่ยง- สินค้าชุมชน Organic Riceberry ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หอม นุ่ม ปลูกเองธรรมชาติปลอดสารพิษ 100%- กล้วยตาก กล้วยเบรกแตก "เก่อญอ"- เครื่องจักรสานผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระติ๊บข้าวเหนียว กระด้ง ชะลอม เป็นต้น- ผ้าทอกี่เอวของชาติพันธ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ต.แม่สำ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งมีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น กว่า 30 ลาย ผ้าทอกะเหรี่ยงมีลักษณะเป็นลวดลายที่ได้จากการย้อมจากสีธรรมชาติซึ่งชาวกะเหรี่ยงได้มีกลวิธีและการสร้างลวดลายผ้าทอที่ผู้ทอจะยึดให้เป็นรูปแบบลวดลายดั้งเดิมที่เคยทอไว้ในอดีตลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมได้ถูกถ่ายทอด มาจากรุ่นบรรพบุรุษ จากการสนทนากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอกะเหรี่ยง-สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแสดงพื้นบ้าน เช่น การฟ้อนเจิง (รำดาบ) , รำกระด้ง, กาซอ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ความเชื่อ ของชาวปกาเกอะญอ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนกะเหรี่ยงในชุมชน ได้แก่ พิธีการเกิด พิธีงานศพ พิธีแต่งงาน ประเพณีซอเจดีย์ทราย ประเพณีหลังเกี่ยวข้าวและพิธีเกี่ยวกับผี การแต่งกาย การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน เสื้อเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน แบ่งออกไปตามเพศ อายุและสถานะทางสังคมได้แก่ เพศชาย เพศหญิง วัยเด็ก วัยรุ่น-วัยชรา และหญิงที่มีสถานะแต่งงานแล้ว
-
"กะเหรี่ยงคอยาว" กลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นที่มีวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลัษณ์ ปรับบทบาทกลายเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีมนต์เสน่ห์ท่ามกลางหุบเขาและสายน้ำ
-
บ้านหาดส้มป่อย ชุมชนขนาดเล็กที่มีแค่ 30 ครัวเรือน แต่เป็นชุมชนที่มีโบราณสถานที่มีอายุมากกว่า 300 ปี เป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อว่าพระธาตุแห่งนี้ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (เกษาธาตุ) ซึ่งตั้งเด่นอยู่บนภูเขาลูกเดียว ล้อมรอบด้วยทุ่งนาและป่าเขาซึ่งเป็นธรรมชาติที่สวยงามที่เรียกว่า “พระธาตุม่อนเปี้ยะ”
-
ชุมชนพหุวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์หลายหลาย และการพัฒนาชุมชนให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยม
-
แม่แดดน้อย ชุมชนปกาเกอะญอที่ยืนหยัดหาทางสู้ สร้างทางรอดกับระบบเศรษฐกิจครอบครัวจนเกิดการรวมตัวกลุ่มสตรีด้อยโอกาสก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แดดน้อยและร่วมกับหมู่บ้านจาก 3 ตำบลในอำเภอกัลยาณิวัฒนา พัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าจากภูมิปัญญา เชื่อมโยงสายใยแห่งจิตวิญญาณภายใต้ชื่อแบรนด์ "เดปอถู่" แบรนด์สินค้าที่เป็นมากกว่าแค่ผลิตภัณฑ์ หากแต่เป็นตัวแทนเรื่องราวชีวิตของสตรีผู้ด้อยโอกาสชาวปกาเกอะญอ
-
ชุมชนชาวปกาเกอะญอในตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ 1 ใน 11 หมู่บ้าน แหล่งปลูกทุเรียนป่าละอู พืชเศรษฐกิจ GI สายพันธุ์พระราชทาน
-
-
ชุมชนดั้งเดิมของชาวลัวะ ที่มีประวัติศาสตร์เรื่องเล่าชุมชนที่น่าสนใจ ภายหลังจึงมีผู้คนชาวปกาเกอะญอเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณชุมชนจนถึงปัจจุบัน