-
ชุมชนมอญใจกลางเมืองเชียงใหม่ ที่ยังคงรักษาและสืบทอดประเพณีพิธีกรรมของกลุ่มเม็งหรือมอญ
-
ชุมชนชาวมอญในแถบชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เขตลาดกระบัง มีวัดทิพพาวาส เป็นศูนย์กลางของชุมชนซึ่งเป็นวัดมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีมีอุโบสถไม้สักทอง และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรพระร้อย ประเพณีการทำบุญกลุ่มเทศน์ ประเพณีการทิ้งบาตร ประเพณีเกี่ยวการบวช ประเพณีเกี่ยวกับความตาย วัฒนธรรมด้านอาหาร เช่นข้าวแช่ แกงกระเจี๊ยบ แกงมะตาด แกงบอน ปลาร้ามอญ ขนมกาละแม ข้าวเหนียวแดง กระยาสารท
-
ชุมชนชาวไทยรามัญที่สามารถรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ได้อย่างเข้มข้นในด้านภาษา ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี และเทศกาล จนปรากฏเห็นอย่างเด่นชัด เป็นที่รู้จักและจดจำได้ในวงกว้าง
-
ชุมชนที่มีระบบคมนาคมสะดวก ทั้งถนนสายหลักซอยย่อย เข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้ง่าย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประเพณี ชาวบ้านยังคงอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางศาสนา การผลิตสินค้าจากใบเตย งานหัตถกรรม และการทำขนมไทยแบบดั้งเดิม เช่น ขนมชั้น ขนมตะโก้ และขนมทองหยิบ และที่สำคัญชุมชนพูนบำเพ็ญยังเป็นชุมชนที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน ได้แก่ การเยี่ยมชมวัด การล่องเรือชมคลอง และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น
-
ชุมชนประไรโหนก กับวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นและมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าในการทำไม้กวาดดอกหญ้า สู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจพื้นฐานเพื่อสร้างเสริมศักยภาพชุมชน
-
หลีกเร้นความวุ่นวายจากป่าปูน ล่องแพตามเขื่อนวชิราลงกรณสู่หมู่บ้านกลางน้ำ "ปิล๊อกคี่" สัมผัสความเงียบสงบและงดงามของทรัพยากรธรรมชาติที่หลายคนถวิลหา
-
ชุมชนมอญริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาและมีงานหัตถกรรมการปั้นดินเผาเก่าแก่ที่ถูกสืบทอดจากบรรพบุรุษที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่มีมานานกว่า 200 ปี
-
ชุมชนที่ยังคงยึดมั่นในการอนุรักษ์ชุมชนและวัฒนธรรมประเพณีชาวมอญ เช่น การรำผีเม็ง(มอญ) ประเพณีลอยอะมด(ลอยกระทง)
-
"อีสานพลัดถิ่น มีกินวิถีพอเพียง แหล่งท่องเที่ยวกระบือไทย งามวิลัยผ้าทอมือ" ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่โดดเด่นแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง