-
ชุมชนชาวมุสลิมที่มีประวัติศาสตร์เคลื่อนย้ายมาจากภาคใต้ก่อนที่จะมีการสร้างชุมชนและสร้างมัสยิดเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีอายุมาอย่างยาวนานมากกว่า 200 ปี
-
ชุมชนตั้งระหว่าง 2 จังหวัด คั่นด้วยคลอง พื้นที่โดยส่วนใหญ่ทำการเกษตร ถือเป็นพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯ ยังคงดำรงรักษาวิถีชีวิต และประเพณีมอญอย่างเคร่งครัด
-
ชุมชนชาวมอญในแถบชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เขตลาดกระบัง มีวัดทิพพาวาส เป็นศูนย์กลางของชุมชนซึ่งเป็นวัดมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีมีอุโบสถไม้สักทอง และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรพระร้อย ประเพณีการทำบุญกลุ่มเทศน์ ประเพณีการทิ้งบาตร ประเพณีเกี่ยวการบวช ประเพณีเกี่ยวกับความตาย วัฒนธรรมด้านอาหาร เช่นข้าวแช่ แกงกระเจี๊ยบ แกงมะตาด แกงบอน ปลาร้ามอญ ขนมกาละแม ข้าวเหนียวแดง กระยาสารท
-
ชุมชนชาวมุสลิมที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในระยะแรกไม่กี่ครัวเรือนก่อนที่จะมีการพัฒนากรุงเทพทำให้เริ่มมีการอพยพของชาวมุสลิมในตัวเมืองกรุงเทพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้จนกลายเป็นชุมชนชาวมุสลิมขนาดใหญ่
-
ตลาดน้ำกึ่งชนบทใจกลางกรุงเทพที่มีการผสมผสานวิถีชีวิตของผู้คนกับธรรมชาติริมน้ำสองฝั่งคลองที่รายล้อมไปด้วยสวนผัก ผลไม้ มีความร่มรื่นเย็นสบาย ห่างไกลจากมลพิษ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับผู้ที่อยากหลีกหนีความวุ่นวายจากสังคมเมือง มาพักผ่อนหย่อนใจกับธรรมชาติ
-
ชุมชนที่เคยอยู่ในพื้นที่บุกรุกและถูกไล่ถอนบ้านเรือนมาก่อน นำมาสู่การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ลำนุ่นพัฒนา เพื่อระดมเงินทุนจากชาวบ้านนำมาซื้อที่ดิน กระทั่งภายหลังชุมชนคลองลำนุ่นได้อยู่อาศัยในที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของถูกต้องตามกฎหมาย
-
ศาสนสถานที่มีลักษณะสวยงามเป็นเอกลักษณ์ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันของกลุ่มเชื้อสายยะวาที่เข้ามาในประเทศไทย และตั้งอยู่ในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
-
ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนแห่งแรกในไทย ย่านการค้าที่เคยถูกเปรียบได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าที่เติบโตมาพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทร์ แต่กว่าจะเป็น "สำเพ็ง" ทุกวันนี้ ย่านการค้าแห่งนี้มีเรื่องราวมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าย่านสำเพ็งนอกจากจะเป็นศูนย์การค้าแล้ว ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์การค้าขายของคนในเมืองกรุงฯ ที่คงอยู่มาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน